ทางสู่อริยะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ

กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง

เราเป็นนักบวช เป็นภิกษุ ภิกษุณี สามเณร แม่ชี โยคีนั้น เราอยู่ในภาวะที่ถือพรหมจรรย์คือการออกจากกาม อย่างน้อยที่สุด ก็ออกจากกามด้วยกาย แม้ว่าจิตยังมีกระแสกามอยู่ แต่จิตก็น้อมออกจากกาม เห็นโทษของตัณหาราคะ”

ธรรมกถา ในโอกาสบัดนี้ จะได้แสดงพระธรรมเทศนา

ปรารภถึงวันนี้ เป็นวันธรรมสวนะ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 1 เป็นโอกาสที่เราจะได้มาทำกิจ เช่น เวียนเทียน ฟังธรรม และฟังบรรยายธรรม คืนนี้จะได้แสดงพระธรรมเทศนา ปรารภถึงข้อปฏิบัติที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้แสดงไว้ใน มัชฌิมนิกาย

ว่าด้วยเรื่องอปัณณะกะปฏิปทา ซึ่งเป็นธรรมที่องค์พระศาสดา ได้ตรัสไว้ว่า ใครได้ประพฤติปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ เป็นการปฏิบัติที่ไม่ผิด เป็นทางที่ถูกต้องโดยส่วนเดียว

ในสมัยหนึ่ง องค์พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จไปยังหมู่บ้านหนึ่งของแคว้นโกศล ชื่อว่า บ้านศาลา พวกพราหมณ์และ คฤหบดีชาวบ้านศาลา ได้ข่าวว่า องค์พระศาสดาได้เสด็จมาและ พวกเขาได้ทราบว่า องค์พระศาสดา ได้เสด็จออกบวชจากศากยะราชตระกูล และ ได้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นพระอรหันต์ผู้พร้อมด้วยความรู้ เป็นผู้ประพฤติดี เป็นผู้รู้ ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความกรุณา จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ได้พวกเขาคิดว่า การจะได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้มีคุณถึงปานนี้เป็นการดี จึงได้มาเฝ้าพระพุทธเจ้า องค์พระศาสดาได้ตรัสถามว่า…

พวกเขามีศาสดาที่จะประพฤติปฏิบัติตามหรือยัง พราหมณ์ และคฤหบดีเหล่านั้นก็ทูลว่า ยังไม่มี พวกเขาจึงได้มาเฝ้าพระพุทธเจ้าพระองค์จึงตรัสว่า เมื่อท่านทั้งหลายยังไม่มีศาสดาที่ท่านนับถือ เราจะให้ธรรมเป็นเครื่องดำเนินชีวิต ชีวิตของท่านทั้งหลายก็จะเป็นไปเพื่อความสุขและความเจริญ

องค์พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสถามพวกเขาต่อไปว่า…

เคยมีศาสดาองค์อื่นที่มาที่นี่แล้ว แสดงทิฐิความเห็นว่า การให้ทานไม่มีผล การปฏิสันถารต้อนรับไม่มีผล การบูชาสิ่งที่ควรบูชาไม่มีผล โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี คุณของบิดามารดาไม่มี สัตว์ที่เกิดแล้วโตทันที คือพวกเทพเทวา และสัตว์นรกไม่มี สมณะผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเป็นวิญญูชน รู้แจ้งด้วยตนเอง และสามารถชี้แจงให้ผู้อื่นได้รู้แจ้งตามไม่มี อย่างนี้มีบ้างไหม ?
ชาวบ้านศาลาตอบไปว่า มี

พระองค์จึงตรัสถามต่อว่า แล้วเคยมีศาสดาบางองค์มาที่นี่ แล้วแสดงทิฐิความเห็นว่า การให้ทานมีผล การปฏิสันถารต้อนรับมีผล การบูชาสิ่งที่ควรบูชามีผล โลกนี้มี โลกหน้ามี คุณของบิดามารดามี สัตว์ที่เกิดแล้วโตทันที เช่น พวกเทพเทวา และสัตว์นรกทั้งหลายมี สมณะผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ รู้แจ้งด้วยตนเอง และสามารถชี้แจงให้ผู้อื่นได้รู้แจ้งตามมี อย่างนี้มีบ้างไหม ?
ชาวบ้านศาลาตอบว่า มี

องค์พระศาสดาจึงตรัสต่อไปว่า ศาสดาทั้ง 2 กลุ่มนี้ จะทะเลาะกันขัดแย้งกัน เพราะคำสอนต่างกัน พระองค์ตรัสต่อไปว่าพวกที่สอนว่า การให้ทานไม่มีผล เป็นต้นนั้น เรียกว่าพวก นัตถิกะทิฐิ คือกลุ่มที่เห็นผิดว่า ไม่มีผล คนเหล่านี้จะไม่มีจิตน้อมไปในการทำกุศล มีกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต แต่เขาจะมีจิตน้อมไปในการทำอกุศลมีกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เพราะเขาไม่เชื่อเรื่องโลกนี้และโลกหน้าเป็นต้น

เมื่อคิดว่า ทานไม่มีผล จิตก็จะไม่น้อมไปในการทำความดีทั้งหลาย เขาจะดูหมิ่นเหยียดหยามคนทำดีคนทำบุญ ทำกุศล เขาจะเกิดมานะทิฐิ ยกตนข่มท่าน ตามอำนาจมิจฉาทิฐิของตนแต่ถ้าบุคคลใดเชื่อว่าการให้ทานมีผลเป็นต้น จิตเขาจะน้อมไปเพื่อทำกุศล คือประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต เว้นจากความชั่วทางกาย วาจา ใจ เพราะเขามีทัศนะว่า ความดีมีจริงโลกนี้ โลกหน้ามีจริง จิตจะน้อมไปในการทำความดี เพื่อความหลุดพ้น เพื่อความเจริญ

องค์พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสต่อไปว่า บุคคลใดเชื่อว่าโลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี เป็นต้น เมื่อเขามีชีวิตอยู่ เขาจะทำชั่วทางกาย วาจา ใจ เขาจะถูกวิญญูชนคนมีปัญญาทั้งหลายตำหนิ และ เมื่อโลกหน้ามีจริง เขาจะตกไปสู่ทุคติอบายภูมิ ได้ชื่อว่าเป็นผู้แพ้ คือปัจจุบันก็ถูกตำหนิ และเมื่อโลกหน้ามีจริง เขาก็ไปสู่อบายภูมิ คือพวกสัตว์นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉาน เรียกว่าเสียทั้งสองคือปัจจุบันและอนาคตแต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าเขาเชื่อว่าบุญบาปมีจริง นรกสวรรค์มีจริง

จิตเขาจะน้อมไปในทางดี ทำความดีทั้งกาย วาจาใจ บัณฑิตก็สรรเสริญในปัจจุบัน เมื่อตายไป โลกหน้ามีจริง เขาก็ได้สุคติโลกสวรรค์ในเบื้องหน้า เรียกว่าได้ประโยชน์ทั้งสอง คือประโยชน์ทั้งโลกปัจจุบันและอนาคตการที่เราเชื่อว่าบุญบาปมีจริง นรกสวรรค์มีจริง ก็ได้ชื่อว่า เราไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อพระอริยะ ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อพระอรหันต์ ที่มีอภิญญาจิตรู้โลกนี้โลกหน้า แต่ถ้าเรามีความคิดตรงกันข้าม เราก็ได้ชื่อว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อพระอริยะ เป็นปฏิปักษ์ต่อพระอรหันต์ผู้รู้โลกนี้โลกหน้า

แม้แต่กลุ่มบุคคลที่เป็น อเหตุกทิฐิ คือมีความเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นเอง ดีก็ดีเอง ชั่วก็ชั่วเอง ไม่มีสิ่งอื่นบันดาลและพวกที่มีความเห็นเป็นอกิริยทิฐิ คือเห็นว่าการทำผิดศีลทั้ง 5 ข้อนั้น ไม่ว่าจะทำผิดด้วยตนเองหรือใช้ให้ผู้อื่นทำ เช่นการฆ่าผู้อื่นด้วยตนเอง หรือจ้างวานให้ผู้อื่นฆ่า หรือลักทรัพย์ด้วยตนเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นลัก คนกลุ่มนี้ถือว่าไม่เป็นบาป เป็นสักแต่ว่ากิริยา เห็นผู้อื่นทำทานรักษาศีล ก็ไม่ถือว่าเป็นบุญ ถือว่าเป็นสักแต่ว่า กิริยาบุคคลเหล่านี้เป็นผู้ควรถูกตำหนิ เพราะเขาจะมีจิตน้อมไปในการทำทุจริต ทั้งกาย วาจา ใจ สร้างทุกข์ให้แก่ผู้อื่น

องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสให้พราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านศาลาฟังต่อไปอีกว่า มนุษย์ในโลกนี้บางคนทำตัวเองให้เดือดร้อน และทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนด้วย แต่บุคคลบางคนก็ไม่ทำให้ตัวเองเดือดร้อน และไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน มีความเป็นอยู่อย่างสันติสุข

พระองค์ทรงยกตัวอย่างบุคคลที่ทำตัวเองให้เดือดร้อนเปรียบกับผู้ประพฤติตนให้ลำบาก ทรมานตน ที่ภาษาพระเรียกว่า อัตตะกิละมะถานุโยค ดุจดั่งลัทธินิครนถ์ทั้งหลาย ส่วนบุคคลที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนก็คือ คนที่มีอาชีพในการฆ่าสัตว์ ฆ่าเป็ด ไก่ แพะ แกะ เป็นต้น หรืออาชีพทำประมงพวกนี้ ดำเนินชีวิตที่ทำให้สัตว์อื่นเดือดร้อน

บางคนไม่ทำให้ตนเดือดร้อนและไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ก็ได้แก่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอรหันตสาวกทั้งหลายที่ท่านได้ดับกิเลสอาสวะได้หมดสิ้นแล้ว

องค์พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสอีกว่า บางคนเชื่อว่านิพพานมีจริง บางคนไม่เชื่อเรื่องนิพพาน ไม่ว่าเขาจะเชื่อหรือไม่เชื่อ เราก็ไปบังคับเขาไม่ได้ ถ้าเราเชื่อว่านิพพานมีจริง แต่เรายังปฏิบัติไม่ถึง เราก็ยังไม่พบพระนิพพาน การจะเข้าถึงพระนิพพานต้องดับกิเลสให้หมด และต้องบำเพ็ญบุญกุศล เราก็ต้องบำเพ็ญบุญกุศลไปเรื่อย ๆ อย่างน้อยที่สุดเราก็จะได้สุคติโลกสวรรค์เป็นเบื้องหน้า แต่ถ้าเราเชื่อเรื่องพระนิพพานและสามารถปฏิบัติให้ถึงเราก็จะพบพระนิพพานได้องค์พระศาสดาตรัสต่อว่า ผู้ที่มีจิตน้อมไปเพื่อความไม่มีภพ คือพระนิพพาน จิตของเขาจะน้อมไปสู่ความไม่มีราคะ ความสิ้นตัณหา ละความยึดถือด้วยมานะทิฐิ น้อมไปเพื่อความไม่ยึดมั่นถือมั่น คือละอุปาทาน แต่ถ้าตรงกันข้ามเขาไม่เชื่อเรื่องนิพพาน จิตจะน้อมไปในความยึดติด ด้วยกกำลังของราคะ ตัณหา มานะ ทิฐิ มีความยึดมั่น ถือมั่นด้วยอุปาทาน จิตไม่น้อมไปเพื่อความสิ้นราคะ ผู้ที่มีจิตน้อมไปเพื่อความสิ้นราคะ เขาจะรู้สึกว่า สุขที่อยู่เหนือสุขด้วยราคะนั้นมีอยู่ ที่เราพูดว่า นิพพานัง ปรมัง สุขัง แปลว่า สุขอื่นเสมอด้วยนิพพานไม่มี คือความสุขที่ไม่มีตัวตัณหา จิตของบุคคลนั้นจะน้อมไปเพื่อความบากบั่นขวนขวาย เพื่อความสิ้นไปซึ่งตัณหาราคะ

ถ้าเรามีความเห็นว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น มีเหตุให้เกิด เราก็จะมีจิตน้อมไปในการทำความดี เช่นถ้ามีความเห็นว่าโลกหน้ามี ก็จะทำดีเพื่อโลกหน้า เพื่อความเจริญแห่งชีวิตในภพหน้าชาตินี้เป็นผลของชาติที่แล้ว ชาติที่แล้วทำดีทำชั่วอย่างไรมันก็ให้ผลเป็นทุกข์เป็นสุข เป็นความเจริญ ความเสื่อมในชาตินี้ปัจจุบันผลที่เราได้เสวยอยู่นี้ เป็นผลมาจากอดีตเหตุ และปัจจุบัน เหตุที่เราทำในชาติปัจจุบันก็จะเป็นอนาคตผลในชาติหน้าเพราะฉะนั้น เราจะรู้ได้เลยว่า อนาคตของเราจะเป็นอย่างไร ก็ดูที่ปัจจุบันเหตุ ดูว่าวันหนึ่ง อาทิตย์หนึ่ง เดือนหนึ่ง ปีหนึ่ง เราได้ทำดีมากน้อยอย่างไร ก็จะเป็นตัวกำหนดไปสู่อนาคตผลเราทำกรรมดีในปัจจุบัน ผลในอนาคตก็ดี ส่วนปัจจุบันผลที่เรารับอยู่ในชาตินี้ เป็นอดีตเหตุในชาติก่อนๆ เราไม่สามารถไปแก้ได้ แต่เราสามารถสร้างปัจจุบันเหตุในชาตินี้ให้สมบูรณ์ เพื่ออนาคตในวันข้างหน้า

คำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอปันนกะสูตร นี้พระองค์ไม่ได้สอนเฉพาะเรื่องความสิ้นกิเลสเท่านั้น แต่พระองค์ทรงสอนธรรมะขั้นศีลธรรม คือการดำเนินชีวิตชอบ ว่าเราเองต้องวางแผนชีวิตเพื่ออนาคตที่ดี หรือเพื่อโลกหน้าที่ดี โลกนี้เราได้อย่างนี้ เพราะว่าบุญที่เราทำมาให้ผลระดับนี้ แต่ถ้าเราอยากให้ชีวิตของเราดีกว่านี้ สมบูรณ์กว่านี้ เราก็ต้องทำในสิ่งที่เป็นคุณเป็นกุศลให้มาก ผลจึงจะเกิดตามอานิสงส์ตามปัจจัย

อานิสงส์สูงสุดที่เราจะพึงมีได้ ก็คือเราจะสร้างเหตุอย่างไรให้สิ้นอาสวะกิเลส การที่เราจะสิ้นอาสวะ เข้าถึงความสิ้นทุกข์คือพระนิพพาน ไม่ใช่ว่าเราจะเพียงแค่การอธิษฐาน ว่าขอให้เราถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะกิเลส แต่เราต้องลงมือปฏิบัติด้วย

องค์พระศาสดาทรงชี้ทางให้เราเดินเพื่อให้ถึงความพ้นทุกข์คือพระนิพพาน ทรงสอนให้เราเจริญวิปัสสนาหรือเจริญสติอยู่กับปัจจุบันขณะ อันเป็นความเพียรที่เราต้องทำในวันนี้ ใครเล่าจะรู้ความตายแม้ในวันพรุ่งนี้ ตามพระบาลีในภัทเทกรัตตคาถาว่า อัชเชวะ กิจจะมาตัปปัง โกชัญญา มะระณัง สุเว และพระองค์ยังได้ตรัสอีกว่า

” ท่านทั้งหลาย พึงพยายามทำความเพียรเถิด เพราะว่าความเพียรนั้นเป็นสิ่งที่จะทำให้เราพ้นทุกข์ได้ ” ดังที่บาลีท่านแสดงไว้ว่า วิริเยนะ ทุกขะมัจเจติ แปลว่า คนจะล่วงทุกข์ได้ เพราะความเพียรความเพียรหรือตบะเผากิเลสเป็นสิ่งที่เราต้องทำเอง ความเพียรนี้เป็นสัมมาวายามะ คือเพียรชอบ เพียรเจริญสติอยู่กับปัจจุบันขณะ หรือเป็นไปในสติปัฏฐาน 4 ก็เป็นสัมมาสติ คือระลึกชอบจิตที่ตั้งมั่นอยู่กับปัจจุบันขณะ ของกาย เวทนา จิต ธรรม เป็นสัมมาสมาธิ ความเห็นว่าทางนี้เท่านั้น เป็นทางที่จะออกจากทุกข์ได้เป็นสัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ความคิดที่เป็นไปเพื่อการออกจากตัณหา เป็นสัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ การที่เราพูดว่า ทางนี้เท่านั้นเป็นทางแห่งความพ้นทุกข์ เป็นสัมมาวาจา การกล่าววาจาชอบ

ธรรมะที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้นั้น เพื่อให้เราประพฤติปฏิบัติตาม แต่เราจะเข้าถึงความสิ้นทุกข์ได้ ก็อยู่ที่ความเพียรของเรา เราจะพ้นจากมารและบ่วงแห่งมารได้ ก็อยู่ที่ความเพียรในการเจริญสติสัมปชัญญะ

องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสว่า อารมณ์อันวิจิตร คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ต่างๆ ที่เป็นไปอย่างวิจิตร พิสดารนั้น ไม่ใช่มารแต่ตัณหาราคะ ที่เข้าไปยึดติดในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ นั้นต่างหาก เป็นมาร รูปเสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ที่น่ารักน่าพอใจนั้นเป็นบ่วงมาร บาลีว่า มารพันธนา คือเป็นอารมณ์ที่ล่อให้เราเข้าไปยึดติดเหมือนกันกับดอกไม้ที่มีสีสวย กลิ่นหอม เป็นตัวล่อแมลงและผึ้งเช่นเดียวกับอารมณ์ที่ดีงามเหล่านั้น ก็เป็นเหยื่อล่อให้เกิดตัณหาราคะ ถ้าเราไม่ระวังให้เราเตือนตัวเองอยู่เสมอว่า รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสธรรมารมณ์ทั้งหลายที่วิจิตรพิสดารนั้นไม่ใช่มาร ไม่ใช่กิเลส ตัวกิเลสคือตัวตัณหาราคะที่เกิดขึ้นในใจเรา อารมณ์ดักจิตของมนุษย์ของสัตว์โลก ให้ผูกพันอยู่กับโลก ตัวมาร ตัวกิเลสจริงๆ เป็น ราคะ โทสะ โมหะ ที่เกิดในใจที่เป็นอกุศล อะปันนะกะ ปฏิปทา ซึ่งแปลว่า ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด เป็นไปเพื่อความเจริญนั้น

ในเบื้องต้นก็คือการที่เราน้อมจิตเชื่อว่า บุญบาปมีจริง นรกสวรรค์มีจริง คุณบิดามารดามีจริง เชื่อเรื่องความกตัญญูกตเวทีเชื่อเรื่องความประพฤติดี ปฏิบัติดี เชื่อเรื่องการประพฤติชอบประกอบด้วยคุณธรรมและเชื่อว่ามนุษย์นั้นสามารถประพฤติตนจนถึงความสิ้นอาสวะ ถึงความเป็นพระอรหันต์ได้

“เราเป็นนักบวช เป็นภิกษุ ภิกษุณี สามเณร แม่ชี โยคีนั้น เราอยู่ในภาวะที่ถือพรหมจรรย์คือการออกจากกาม อย่างน้อยที่สุด ก็ออกจากกามด้วยกาย แม้ว่าจิตยังมีกระแสกามอยู่ แต่จิตก็น้อมออกจากกาม เห็นโทษของตัณหาราคะ”

เช่น การที่เราแยกกันอยู่คนละโซนระหว่าง ภิกษุ อุบาสก กับแม่ชี อุบาสิกาทั้งหลายเราพยายามเดินตามคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงสอนพระอานนท์ว่า ถ้าไม่เห็นได้เป็นการดี หญิงก็ไม่เห็นชาย ชายก็ไม่เห็นหญิง ถ้าจำเป็นต้องเห็นก็อย่าพูด ถ้าจำเป็นต้องพูด ก็ต้องพูดอย่างมีสติ หมายถึงว่า ถ้าเราอยู่ด้วยกันฉันพี่น้อง ฉันนักประพฤติปฏิบัติก็อยู่ด้วยกันได้ ไม่ต้องเอาเรื่องกิเลส เรื่องกามมาเกี่ยวข้อง อย่างนี้เป็นการดำเนินชีวิตให้เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อม คือถือพรหมจรรย์ประพฤติเนกขัมมะเมื่อเราเห็นโทษของกามแล้ว ก็พยายามพัฒนาจิตตนให้เท่าทันอารมณ์จสามารถระงับดับตัณหาที่เกิดจากตา หู จมูก ลิ้นกาย ใจ ได้ ถ้าเราสามารถประคองจิตได้ ก็สามารถดับความโลภโกรธ หลง ในใจได้ อารมณ์เหล่านั้นก็สักแต่ว่าเป็นอารมณ์ เหมือนกับพระอรหันต์เสพอารมณ์ที่สวยงามหรือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสที่ดี แต่ท่านก็ไม่มีกิเลสที่จะติดอยู่กับสิ่งเหล่านั้น แต่ถ้ารักษาจิตให้ดีก็สามารถระงับดับกิเลสได้ในช่วงเวลาที่มีสติสัมปชัญญะนั้น

ถ้าเราได้เจริญสติเจริญวิปัสสนาให้ต่อเนื่องแนบแน่นได้พัฒนาสัมมาทิฐิก็จะเกิดญาณรู้ว่า รูปนามขันธ์ 5 หรือกายใจนี้ เป็นทุกข์ บาลีว่า ทุกเข ญาณัง เห็นว่า รูปนามกายใจนี้มีความเสมอกัน ไม่ใช่หญิง ไม่ใช่ชาย ไม่ใช่พระ ไม่ใช่โยม เป็นเพียงรูปนามที่กำลังเป็นไปอยู่ ต่อไปก็จะเกิดญาณรู้ว่า ตัวตัณหา คือเหตุแห่งทุกข์เหตุให้เกิดรูปนาม เมื่อจะดับทุกข์ ดับรูปนามกายใจนี้ ก็ต้องดับที่ตัณหา คือความอยากเกิด อยากเป็นนั่นเป็นนี่การดับทุกข์ดับรูปดับนามนี้ ไม่ใช่เราเป็นผู้ดับ

บางคนมาปฏิบัติธรรมอยากจะดับทุกข์ อยากดับความโลภ ความโกรธ ความหลง แต่ถ้ายิ่งอยากดับก็ยิ่งทุกข์มากขึ้น เพราะเอาตัวตนเข้าไปดับแต่ความจริงตัวที่จะดับทุกข์ได้ คือ ปัญญาที่รู้แจ้งตามความจริง จึงจะดับความโลภ ความโกรธ ความหลงได้ เมื่อดับกิเลส 3 ตัวนี้ได้ ก็ดับทุกข์ได้ ปัญญาที่จะดับทุกข์ได้คือ ปัญญาที่ประกอบด้วยสติสัมปะปัญญะ มีสติรู้เท่าทันอารมณ์ปัจจุบัน ทุกขณะแห่งการยืนเดิน นั่ง นอน ก้าวย่าง ถ้าโยคาวจรทั้งหลายได้ทำกิจอย่างนี้ก็เรียกว่า ได้ทำตัวเองให้เป็นที่พึ่ง หรือได้ปฏิบัติในทางที่ถูก เป็นทางที่จะเป็นที่พึ่งแก่ตนได้

เมื่อองค์พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงแสดงธรรมแก่พราหมณ์และคฤหบดี ชาวบ้านศาลา ในแคว้นโกศล จบลงแล้ว เขาเหล่านั้นก็ยอมรับคำสอนขององค์พระศาสดา ประกาศตนว่า ขอเป็นอุบาสก อุบาสิกา ผู้ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะที่พึ่ง พวกเขากล่าวว่า คำสอนของพระองค์ช่างน่าอัศจรรย์ เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด หรือจุดประทีปในที่มืดเพื่อให้คนตาดีมองเห็น และทูลขอพระพุทธเจ้าให้ทรงจำพวกเขาว่า เป็นอุบาสก อุบาสิกา ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

องค์พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ได้ทรงบังคับ ไม่ได้ทรงชักชวนว่าขอท่านจงมาเป็นสาวกของเรา แต่พระองค์ทรงบอกว่า ถ้าท่านไม่มีศาสดาที่ท่านเคารพนับถือ เราจะแนะนำท่านให้ประพฤติปฏิบัติอย่างนี้ ถ้าท่านพอใจท่านก็จะได้อานิสงส์ คือ ความสุขความเจริญแก่ตัวเอง

ที่วัดเราก็เหมือนกัน เวลาที่อาตมาสอบอารมณ์โยคีชาวต่างชาติ อาตมาก็ไม่ได้ชวนเขาว่า คุณจงมาเป็นชาวพุทธเถิดหรือคุณจงมานับถือพระพุทธศาสนา เมื่อเขาเลื่อมใสศรัทธาเขาก็จะมาเป็นชาวพุทธเอง ถ้ายังไม่ถึงขั้นนั้น เขาก็ได้ประโยชน์ มีโยคีชาวต่างชาติหลายคนกลับมาปฏิบัติรอบสองรอบสาม เขาบอกว่า เขายังปฏิบัติธรรมอยู่ทุกวัน เพราะเขาได้ประโยชน์จาการเจริญสติ ภาวนาแล้วมีจิตสงบ สุขุม มีความอดทนอดกลั้น ทำให้การดำเนินชีวิตเป็นไปด้วยดี ตอนหลังก็เริ่มบูชาพระพุทธรูปไปกราบไหว้ที่บ้าน เพราะเห็นประโยชน์จากการปฏิบัติธรรม ก็ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า

นี่คือการที่เราเอาความจริงหรือสัจธรรม ให้เขาได้ศึกษาตัวเขาเอง เช่นสอนว่า ธรรมะก็คือรูปนามขันธ์ 5 ที่เราสมมุติว่าเป็น

กายใจของเรา เป็นตัวเรา การปฏิบัติธรรม ก็คือการปฏิบัติให้มีสติอยู่กับกายอยู่กับใจ การปฏิบัติธรรมก็คือ การเดินมรรค เดินมรรคได้สมบูรณ์ก็ดับกิเลสได้ เมื่อดับกิเลสได้ก็มีความสุขเป็นความสุขที่ได้จากการอยู่กับปัจจุบัน รู้ความจริงในปัจจุบัน ดับโลภ โกรธ หลงในปัจจุบันลงได้การรู้ธรรมอย่างนี้ เรียกว่าเป็นประจักษ์สิทธิ หรือ ปัจจัตตัง คือรู้ได้เฉพาะตน โดยไม่ต้องให้ใครบอก เหมือนเราจิบน้ำตาลหรือเกลือ เราก็จะรู้รสหวาน รสเค็มด้วยตนเอง เมื่อเราลงมือปฏิบัติธรรม เราก็จะรู้สุข รู้ทุกข์ด้วยตัวเองทันที นี่คือตัวสัจธรรม เป็นหลักธรรมที่เราสามารถเข้าถึงเองได้ และเมื่อปฏิบัติธรรมไปเรื่อยๆ ก็จะเกิดปัญญาที่จะพิจารณาว่า สิ่งนี้ควรเชื่อ สิ่งนี้ไม่ควรเชื่อ สิ่งนี้ควรนับถือ สิ่งนี้ไม่ควรนับถือสิ่งที่เราพึงประพฤติปฏิบัติที่ไม่ผิด ก็คือ ความเชื่อเรื่องบุญบาปว่ามีจริง เป็นพื้นฐาน ถ้าเรามีความเชื่ออย่างนี้ เรียกว่าเราอยู่ในฝ่ายของพระอริยะ เป็นทางที่จะไปถึงความสิ้นทุกข์เป็นที่สุด แต่ถ้าเราปฏิเสธ ก็เป็นฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์ต่อพระอริยะ ที่จะเป็นไปเพื่อมีทุกข์ สังสาระก็ยืนยาว

ธรรมะที่องค์พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้นั้น เป็นสิ่งที่จะต้องบำเพ็ญเอง ปฏิบัติเอง มีความเพียรบากบั่นเอง พระองค์และพระอริยะสงฆ์สาวก เป็นเพียงผู้ชี้บอกทาง การที่เราจะพ้นจากมารและบ่วงแห่งมารได้ ก็ต้องอาศัยความเพียรบากบั่นด้วยตนเอง เราต้องช่วยตัวเองจึงจะสามารถพ้นจากสังสาระเป็นที่สุดได้ และถึงแม้ว่าจะยังไม่พ้นจากสังสาระ เราก็มีสุคติภูมิ คือ มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติเป็นภพภายหน้า เราจึงต้องบากบั่นทำความดีด้วยตนเองตั้งแต่ระดับการให้ทาน รักษาศีล เจริญสมถะภาวนาและวิปัสสนาภาวนาเป็นที่สุด

การแสดงธรรมะในค่ำคืนนี้ ก็เห็นว่าสมควรแก่เวลา จึงขอสมมุติยุติลงคงไว้แต่เพียงเท่านี้ ขออำนาจแห่งบุญอันเกิดจากการฟังธรรมด้วยความเคารพนี้ จงเป็นอานิสงส์ส่งผลให้พวกเราทั้งหลาย เจริญในคุณธรรมในระดับเบื้องต้น จนถึงความสิ้นอาสวะกิเลสเป็นที่สุด จงบังเกิดมีแก่เราท่านทั้งหลาย จงทุกทั่วหน้ากันด้วยเทอญ….

พระภาวนาธรรมาภิรัช วิ.
หนังสือ สรรพธรรม 5 บทที่ 1

อริยสัจ ๔

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

ยังกิญจิ สมุทยะธัมมัง สัพพัญตัง นิโรธะธัมมัญติ

ธรรมกถาในวันนี้ อาตมาจะได้แสดงพระธรรมเทศนา ปรารภถึงวันอาสาฬหบูชา ซึ่งพวกเราได้มาทำกิจในฐานะพุทธบริษัท พุทธบริษัทมีหน้าที่ที่จะต้องพัฒนาจิตใจ ให้เข้า ถึงพระรัตนตรัย หรือให้เข้าใกล้พระรัตนตรัยให้มากที่สุด โดย การบำเพ็ญความดีทุกอย่าง

สมัยหนึ่งก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี ได้มีมหาบุรุษท่าน หนึ่งได้หยั่งรู้ถึงธรรมที่ไม่มีใครรู้มาก่อน เมื่อพระองค์ได้หยั่งรู้ถึงธรรมนั้นแล้ว ก็ได้ประทับเสวยผลแห่งบุญ ที่ทำให้บรรลุธรรมนั้น เป็นเวลาถึง ๔๙ วัน หลังจากนั้นท้าวมหาพรหมก็มาอาราธนา พระองค์ให้ออกเผยแผ่ธรรม

ธรรมประการหนึ่งที่พระองค์ตรัสรู้ก็คือ อริยสัจ หมายถึงความจริง ๔ ประการ คือ

๑.ทุกขอริยสัจ
๒.สมุทยอริยสัจ
๓.นิโรธอริยสัจ
๔.มรรคอริยสัจ

พระองค์ได้ตรัสรู้ถึงธรรมอันเป็นเหตุและผล ทุกข์ กับ นิโรธ เป็นธรรมฝ่ายผล สมุทัย กับ มรรค เป็นธรรมฝ่ายเหตุ ก็มีเหตุผลฝ่าย ทุกข์และก็เหตุผลฝ่ายพ้นทุกข์ ทุกข์กับสมุทัยเป็นตัวสังสาระ เป็น ธรรมที่เป็นไปในโลกีย นิโรธกับมรรคเป็นโลกุตรธรรม เป็นวิวัฏฏะคือ ธรรมเครื่องออกจากสังสาระ

ที่อาตมาได้ยกบาลีว่า “ ยังกิญจิสมุทยะธัมมังสัพพัญตัง นิโรธะธัมมัญติ” หมายความว่า“ ธรรมทั้งหลายมีความเกิดขึ้น เป็นธรรมดา ธรรมเหล่านั้นก็มีความดับไปเป็นธรรมดา เหมือน ชีวิตของเรา เกิดมาแล้วก็ย่อมมีความตายเป็นธรรมดามีความ เกิดขึ้นเป็นเบื้องแรก ผันแปรในท่ามกลางและแตกสลายในที่สุด ”

พระบาลีข้อนี้มีอยู่ใน ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรก็เพราะ พระปัจจวัคคีย์ คือท่านโกญฑัญญะ ได้เห็นด้วยปัญญาของ ท่านเองว่า เมื่อทุกสิ่งมีการเกิดขึ้น ก็ต้องมีการดับไปเป็น ธรรมดา ท่านอัสสชิซึ่งเป็นพระปัจจวัคคีย์องค์สุดท้าย ก็ได้เอา ความรู้นี้ไปเผยแผ่ว่า “ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุพระตถาคต ย่อมตรัสถึงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับไปของธรรม เหล่านั้น ดังมีพระบาลีว่า “ เย ธัมมา เหตุปปะภะวา เตสัง เหตุง ตะถาคะโต เต สัญจะโย นิโรโธ จะ เอวัง วาที มหาสะมะโณ”

คำว่า “ มหาสมโณ” หมายถึงพระพุทธเจ้า คือพระมหา สมณะผู้ยิ่งใหญ่ซึ่งพระองค์ทรงสอนว่า “ ธรรมทั้งหลาย เกิดแต่ เหตุ และธรรมเหล่านั้นย่อมดับไปเพราะเหตุดับ ” ธรรมทั้งหลาย หมายถึง ธรรมที่เป็นผล ซึ่งเกิดขึ้น เมื่อมีเหตุและเมื่อเหตุดับผลก็ดับ ในอริยสัจ ธรรมที่เป็น ผลก็คือ ทุกข์กับนิโรธ ทุกข์คือขันธ์ ๕ คือ กายกับใจ นิโรธ คือ พระนิพพาน ธรรมที่ดับขันธ์ ๕ ทุกข์ เป็นธรรมฝ่ายผล ที่เป็น โลกียะ นิโรธ เป็นธรรมฝ่ายผล ที่เป็น โลกุตระ สมุทัย เป็นธรรมฝ่ายเหตุ ที่เป็น โลกียะ มรรค เป็นธรรมฝ่ายเหตุ ที่เป็น โลกุตระ

รูปนามขันธ์ ๕ ที่สมมุติว่าเป็นชีวิตของเรา เป็นธรรมฝ่ายผล ที่ เป็นโลกียะธรรม ทุกชีวิตไม่ว่าจะเป็น มนุษย์ เทวดา อินทร์ พรหม ยม ยักษ์ หรือชีวิตของอบายสัตว์ คือพวกเดรัจฉาน เปรต อสุรกาย สัตว์นรก ที่เป็นไปในสังสารนี้ เป็นธรรมฝ่ายผล ที่เป็นโลกียะสัจจะ ที่มีความเกิด และความดับเป็นธรรมดา ผลนี้เกิดขึ้นเพราะมีเหตุ คือ สมุทัย

คำว่า สมุทัย แปลว่า เหตุ ซึ่งมีทั้งฝ่ายดีและฝ่ายไม่ดีเหตุที่ สำคัญยิ่งนั้นพระพุทธเจ้าทรงยกให้แก่โลภะ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ตัณหา คือความอยาก ตัวตัณหาเป็นยอดแห่งเหตุ ยอดแห่งทุกข์ทั้ง มวลตัณหามีชื่อหลายอย่างเช่นโลภะราคะกามฉันทะแต่ความหมาย ก็คือ ความอยาก ความปรารถนา ความต้องการ อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์

ความอยากมี ๒ แบบ คือ ธัมมิยะโลภะ คือความอยากที่ถูกต้องตามธรรม กับ อธรรมมิยะโลภะ ความอยากที่ไม่ถูกต้องตามธรรม ถ้าความอยากเกิดขึ้นแล้วเราทำกรรมไม่ดี ความทุกข์ก็ เกิดขึ้นและมีผลเป็นรูปนามฝ่ายบาป ก็คือ ชีวิตของพวกสัตว์ เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย สัตว์นรก เรียกว่า อธัมมิยะโลภะ

แต่ถ้า เกิดความอยากที่เป็น ธัมมิยะโลภะ ผลก็เป็นสุคติได้รูปนามที่เป็น มนุษย์เป็นเทวดาเป็นพรหม ตัวอย่างเช่น ฝนตกลงมาอย่างนี้ เราอยากจะได้ศาลาใหญ่เพื่อ ให้ทุกคนได้นั่งฟังธรรมในที่เดียวกัน ถ้าโยมเขาไม่มีกุศลศรัทธาสร้าง ศาลาหลังนี้ให้ ฝนตกอย่างนี้เราคงแตกฮือ ฉะนั้นการสร้างเสนาสนะ เป็นคุณอย่างนี้ ช่วยป้องกันความร้อนความหนาว ป้องกัน ลม แดด ยุง เหลือบ และสัตว์เลื้อยคลาน และเป็นสถานปฏิบัติธรรมได้

เมื่อเทวดามาทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ในบรรดาการให้นั้น การ ให้อะไรเรียกว่าเป็นการให้ทุกสิ่งทุกอย่าง พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า การ ให้เสนาสนะเป็นการให้ทุกสิ่งทุกอย่าง ดังนั้นเราจึงยินดีที่จะสร้างกุฏิ สร้างห้องปฏิบัติธรรม แต่ถ้าถามว่าความอยากอย่างนี้มีโทษไหม มันก็มีทั้ง คุณและโทษ คือเป็นโทษแบบโลกียะ ซึ่งเป็นฝ่ายสุคติคือบุญ กุศลอย่างนี้จะพาเราให้มาเกิดเป็นมนุษย์บ้าง เป็นเทวดาบ้าง คือยังเป็นไปเพื่อความเกิด ความแก่ ความเจ็บ และความ ตาย ยังไม่พ้นจากทุกข์ แต่ก็เป็นโลกียะฝ่ายดีเมื่อมนุษย์เรา ยังมีความโลภ มีความติดสุขในทางกามอยู่ ก็ยังมีความยินดี ในบุญกุศลชนิดนี้

ฉะนั้นเหตุแห่งทุกข์ก็คือตัวตัณหานี้ ก็อยู่ที่ว่าเราจะใช้พลังแห่ง ความอยากไปในทางใด ทางทุจริต หรือ ทางสุจริต ทางดี หรือ ทางชั่ว การที่พวกเรามาปฏิบัติธรรมกันในวันนี้ก็มาด้วยความอยาก เป็นความอยากฝ่ายดีเป็นกุศลฉันทะ บางทีก็ยังไม่รู้ว่าปฏิบัติธรรมแล้วจะดีอย่างไร ยังสงสัยอยู่ มาอยู่วัดก็ไม่สบายเหมือนอยู่ บ้าน จะกิน จะนอน ก็ลำบาก แออัดยัดเยียด ก็อาจจะสงสัยว่ามา หาทุกข์ทำไม เราไม่ได้มาหาทุกข์นะ เรามาหาทางออกจากทุกข์ คือ ทุกข์นี้เราไม่ต้องไปหา เพราะเราอยู่กับทุกข์ ทุกข์อยู่กับเรา ตัวเราเองเป็นทุกข์ เรามีความทุกข์อยู่ทุกย่างก้าว ทุกลมหายใจ เข้าออก เป็นขบวนการของทุกข์ เป็นทุกขธรรม เป็นทุกขสัจจะ เพราะทุกข์เกิดจากตัวตัณหา ความอยาก ความปรารถนา เราจึงมา หาทางออกจากตัวตัณหา คือความอยากนี่แหละ

มีครูบาอาจารย์ท่านสอนว่า อาศัยตัณหาละตัณหา คือ อาศัยความอยากละความอยาก คืออยากดีเพื่อละ ชั่ว อยากเป็นคนดีละพฤติกรรมชั่วของตน ตัวชั่วนี้คือตัวอกุศล ความดีทำให้เราเป็นคนดีความดีก็คือบุญกุศล บุญกุศลนี้เป็น ปัจจัยให้เกิดความเจริญ ความสุข เราจะออกจากทุกข์ก็ต้องมา ทำความดีการทำดีเรียกว่า มรรค ถ้าปฏิบัติและทำมรรคให้ สมบูรณ์จะทำให้สิ้นทุกข์คือ นิโรธ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราทำบุญพอหรือยัง ถ้าเรารู้ว่ากิเลส หมดแล้ว ก็หมายความว่าบุญของเราพอแล้ว ถ้ากิเลสยังไม่หมด ก็หมายความว่าเรายังทำบุญไม่พอ เหมือนกับว่ามีกองไฟกองหนึ่ง ลุกเป็นเปลว เราก็เอาน้ำไปดับ ตราบใดที่ไฟยังลุกอยู่ก็แสดงว่าน้ำ ยังไม่พอ ถ้าเรามีน้ำมากพอ ก็สามารถดับไฟทั้งกองได้สนิท เหมือน กับการทำความดี ก็ดูว่าดับกิเลสได้หมดหรือยัง ถ้าดับกิเลสยังไม่หมด ก็แสดงว่าความดียังไม่พอ การทำความดีนี้คือ สิ่งที่เรียกว่า มรรค คือทางที่จะออกจากทุกข์ เบื้องต้นนี้เรายังไม่ต้องดับความอยาก ปล่อยให้ความอยากมันเป็นอย่างนั้น แต่เราไปสร้างเครื่องมือ สร้างเงื่อนไข เพื่อ ลดความอยาก เครื่องมือ เงื่อนไข ที่จะทำให้เราลดความอยากได้ ก็ คือ กรรมฐาน

กรรมฐานที่เราปฏิบัติ ก็คือ สติปัฏฐาน ๔

เราเริ่มกำหนดเจริญสติปัฏฐานที่กายก่อน เพราะกายนี้เป็น ที่ตั้งของความยินดีพอใจ เราติดใจความสวยงามของกาย เรียก ว่า สุภวิปลาส ถ้าเราพิจารณาอย่างลึกซึ้ง จะเห็นว่ากายเป็นอสุภะ ไม่สวยงาม เมื่อเราเจริญสติโดยอาศัยกายเป็นที่ตั้ง ก็ให้น้อมไปดู ความไม่สะอาดของกายตั้งแต่หัวจรดเท้า ว่ามีความเป็นปฏิกูล โดย ประการต่าง ๆ จนสามารถถอนความยินดีพอใจในกายนี้ได้ ท่านพุทธทาสสอนให้เราตายก่อนตาย คือให้กิเลสมันตาย ไปก่อนที่เราจะตาย แล้วเราจะได้ไม่ต้องมาเกิดมาตายอีก ถ้าเรา ดับกิเลสไม่ได้ เราก็พ้นทุกข์ไม่ได้ ในสมัยพุทธกาล มีภิกษุรูปหนึ่งชื่อว่าท่านจิตตะหัตถะ ก่อน ที่ท่านจะมาบวชท่านมีภรรยา แต่อยู่ด้วยกันด้วยความอดอยาก ท่านเห็นว่าเป็นพระภิกษุนี้สบาย มีพระราชามีเศรษฐีเลี้ยงดู ตัว ท่านเองทำไร่ไถนา ยังไม่มีกินเท่ากับพระเลย ท่านจึงออกบวช พออยู่เป็นพระ มีกินมีใช้ก็อ้วนพีมีกำลัง แต่เนื่องจากเป็นปุถุชนเกิด ความคิดถึงภรรยาจึงสึกออกไป อยู่ไปสักพักไม่พอกินจึงไปขอบวชอีก บวชสึก สึกบวช ถึง ๖ ครั้ง จนพระท่านรู้ เมื่อท่านมาบวชอีกพระท่านก็ถามว่า ท่านหัตถะจะสึกเมื่อไหร่ แต่พระท่านก็ไม่ว่าอะไรเรียกว่าเข้า ตามตรอกออกตามประตู พระก็เลยไม่รังเกียจ บวชก็ได้ สึกก็ได้ แต่ก่อนบวชง่ายไม่ต้องตรวจ HIV แต่สมัยนี้ต้องตรวจ HIV ก่อนถึงจะบวชได้ ก่อนที่ท่านจะบวชครั้งที่ ๗ เป็นเวลาที่ภรรยากำลังตั้งครรภ์

วันหนึ่งท่านไปไถนา ภรรยาลืมไปส่งข้าว ท่านจึง กลับบ้าน พอเปิดประตูเข้าบ้านเห็นภรรยาที่ตั้งครรภ์ได้ ๘-๙ เดือน ท้องโตนอนหลับอยู่ อากาศร้อน ภรรยาเหงื่อโทรมกาย เสื้อผ้าก็ หลุดลุ่ย ภาพที่ท่านได้เห็นเหมือนซากศพที่กำลังพองอืดได้สัก ๓ วัน ท่านมองดูแล้วก็คิดว่า “ รูปอย่างนี้หรือที่เราหลงรัก หลงชอบ ” คิดอย่างนี้แล้วท่านก็หันกลับออกจากบ้านแล้วไปที่วัดเพื่อขอบวช อีก พระท่านถามว่าบวชแล้วจะสึกอีกเมื่อไหร่ ท่านตอบว่าคราว นี้คงไม่สึกอีกแล้ว ตอนหลังเมื่อเพื่อนภิกษุถามว่าเมื่อไหร่ท่านจะ สึก ท่านตอบว่า คงไม่สึกอีกเพราะได้เห็นธรรมแล้ว ท่านบวชถึง ๗ หน แต่ในที่สุดท่านก็ได้เป็นพระอริยะ เพราะได้เห็นภาพภรรยาเป็น ธรรมะสอนใจ อย่างนี้เรียกว่าดูกายให้เห็นอสุภะ

เมื่อเราเป็นนักปฏิบัติธรรม ต้องพยายามมองกายให้เห็น เป็นอสุภะ คำว่า สุภะ แปลว่า งาม เมื่อ เติม อะ เข้าไป แปลว่าไม่ งาม อสุภะ เป็นธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อราคะ เมื่อเห็นกายเป็นอสุภะ ความอยากความยินดีในกายก็ระงับดับไปได้

เครื่องมือที่ ๒ ให้กำหนดดูเวทนา แก้อาการติดสุข เราทุก คนอยากสุข พอมาปฏิบัติเขาให้นั่งภาวนาไม่ให้ขยับเขยื้อน เกิด เวทนา ปวดขา ก็ให้กำหนด ปวดหนอ ทุกข์หนอ เราจะเห็นทุกข์ เมื่อนั่งอยู่ในอิริยาบถเดียว ถ้าเราเปลี่ยนท่าก็ไม่เห็นทุกข์ แต่แม้ จะเปลี่ยนท่า นั่งไปอีกก็ปวดอีก ทุกข์อีก ทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้นมันทุกข์ ทุกท่า นั่งพับเพียบก็ทุกข์ นั่งขัดสมาธิก็ทุกข์ นั่งภาวนาแล้วจะเห็น เวทนา เห็นเวทนาแล้วจะคลายการติดสุข

พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า เวทนาเป็นกรรมฐาน ไม่ได้สอนว่าเวทนาเป็นมาร ฉะนั้นเวลาปฏิบัติถ้าเกิดเวทนา ให้นึกว่า

พระกรรมฐานได้เกิดกับเราแล้ว การที่เราจะออกจากทุกข์ได้ เรา ต้องเห็นทุกข์ รู้จักทุกข์ เหมือนกับเราจะรักษาโรค ก็ต้องศึกษา สมุฏฐานของโรค ถ้าเข้าใจสมุฏฐานของโรคได้ชัดเจน ก็ให้ยาถูก ฆ่าเชื้อโรคได้ ก็สามารถดับทุกข์ได้ คือรักษาโรคให้หายได้ ทุกข์ จึงเหมือนกุญแจอีกดอกหนึ่ง ที่จะไขให้เราออกจากทุกข์ได้ โดย อาศัยทุกข์ละทุกข์ เหมือนเราจะข้ามแม่น้ำใหญ่ที่ไม่มีสะพาน เราต้องหา เรือหาแพมาใช้ เรือแพจะข้ามไปสู่ฝั่งโน้น ก็ต้องอาศัยน้ำใน แม่น้ำเป็นตัวพยุงเรือแพให้ข้ามไปได้ฉันได เราจะข้ามกอง ทุกข์ได้ก็ต้องอาศัยทุกข์นั่นแหละ จึงจะข้ามพ้นกองทุกข์ได้ฉัน นั้น ทุกข์เจ็บทุกข์ปวดยังพอทนได้ แต่ทุกข์เพราะมีโรคภัย เบียดเบียนนั้นแย่กว่า

“เมื่อกี้มีโยคีมาลากลับบ้าน บอกว่าเพื่อน ที่เพิ่งตรวจพบว่าเป็นมะเร็ง และมาปฏิบัติธรรมด้วยกัน มีความกังวลมาก เขากลัวตายและนอนไม่หลับ อย่างนี้ถือว่าเป็นทุกข์ เพราะมีอุปาทาน ว่าเราเป็นมะเร็ง ความจริงมีโยคีหลายคนบอกว่า ขอบคุณมะเร็งที่พาเขาเข้าวัด ถ้าไม่เป็นมะเร็งเขาคงไม่เข้าวัด เขา ได้เข้าถึงธรรม ได้ปฏิบัติธรรมเพราะเป็นมะเร็ง”

แต่การมาปฏิบัติธรรมไม่ใช่มะเร็งจะหายทุกราย แต่แม้จะ ไม่หายเราก็มาเตรียมตัวตาย เมื่อจะตายขอให้ตายอย่างมีที่พึ่ง ตาย อย่างมีสติ การปฏิบัติธรรมทำให้จิตใจเราเข้มแข็ง เจ็บปวดอย่างไร ก็อดทน เอาเวทนาที่เกิดจากการเป็นมะเร็ง เป็นอารมณ์กรรมฐาน กำหนด เจ็บหนอ ปวดหนอ จิตใจนิ่งสงบได้เพราะมีสติ เอาสติที่ฝึก แล้วต่อสู้กับเวทนา วิธีนี้เรียกว่า

เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

ครื่องมือที่ ๓ คือกำหนดดูจิต เรียกว่า จิตตานุปัสสนาสติ ปัฏฐาน มีโยคีมาปฏิบัติธรรมบอกว่าจิตไม่สงบเลย ฟุ้งซ่าน นึกคิด ตลอดเวลา เมื่อเป็นอย่างนั้นก็ต้องกำหนด คิดหนอ คิดหนอ มันจะ คิดทั้งชั่วโมงก็ไม่เป็นไร ขอให้มีสติรู้ว่ากำลังคิด สติที่ได้จากการกำหนดกาย กำหนดเวทนา กำหนดจิต มี ค่าเท่ากัน แต่เราไม่ชอบ เราไม่อยากได้สติจากการดูกายที่เป็น ปฏิกูล ไม่อยากได้สติที่เกิดจากทุกขเวทนา ไม่อยากได้สติจากการ รู้ความคิด แต่เราอยากได้สติที่เกิดจากจิตที่มีสมาธิ มีความสงบ สุข ความจริงแล้วสติเป็นคุณธรรมที่มีอารมณ์หลากหลาย ไม่ใช่ อารมณ์ดีอย่างเดียว อารมณ์ไม่ดีก็ได้ เหมือนกับเราหาทรัพย์ได้จากการขายของเก่า เช่นเราเก็บ ขยะรีไซเคิล พวกขวด พลาสติก ขวดแก้วที่ใช้แล้ว หรือเก็บเศษหิน เศษเหล็กขาย หรืออาจจะขายเพชรพลอยก็ตาม เงินที่ได้จากการ ขายขยะหรือเพชรพลอยก็มีค่าเท่ากัน แต่เงินนั้นก็ได้มาจากปัจจัย ต่างกัน บางคนขายขยะก็เป็นเศรษฐีได้ บางคนขายเพชรขายพลอยก็เป็นเศรษฐีได้

เงื่อนไขไม่ได้อยู่ที่อาชีพ แต่อยู่ที่ทรัพย์ที่เกิด จากอาชีพนั้นเป็นสำคัญ เหมือนการปฏิบัติธรรม ความสำเร็จไม่ได้อยู่ที่ความสุข หรือความทุกข์ แต่อยู่ที่มีสติ หรือขาดสติ สงบหรือฟุ้งซ่าน ยิ่งคนมา ปฏิบัติครั้งแรกจะไม่มีความสงบ มีแต่ความคิดหลายอย่างเกิดขึ้น ในใจ เราจะตั้งสัมมาทิฏฐิ คือความเห็นชอบลงไปในความคิดนั้น ได้อย่างไร ถ้าเรามีความคิดชอบ เห็นชอบแล้ว เราจะรู้ว่ามันเป็น แค่ธรรมชาติของจิต เพราะจิตเป็นธรรมชาติคิด แต่เราจะฝึกคิด อย่างมีสติ คิดอยู่กับธรรมะฝ่ายดี ถ้าสงบได้ก็ดี ถ้าไม่ได้ก็กำหนด ไปเรื่อยๆก่อน คิดหนอ ฟุ้งหนอ และสังเกตดูว่า จิตมีความโลภ โกรธ หลง มีสติ มีสมาธิ หรือเป็นอย่างอื่น ก็สังเกตดูอาการของจิต นั้นไปเรื่อยๆ คืออาศัยจิตคิดนั่นเองเป็นที่ตั้งของกรรมฐาน

ฉะนั้น ความคิด ความฟุ้งไม่ใช่เรื่องเลวร้าย สำหรับการปฏิบัติธรรม เรา สามารถเอาความคิดนั้นมาเป็นฐานของการปฏิบัติธรรมได้ จิตเป็นธรรมชาติคิด ให้เรามีสติรู้ว่าจิตกำลังคิด แต่ โยคีทั่วไปไม่อยากให้มีความคิด แต่ความคิดก็มีอยู่ ให้เรา ตั้งใจกำหนดภาวนาไปเรื่อยๆ เมื่อสติสมาธิดีขึ้น ความคิด จะเบาบางลงไปเอง ถ้าสติสมาธิยังไม่แข็งแกร่งพอ ความคิดก็ มีกำลัง เราไม่ต้องกังวล เหมือนกับแม่น้ำใหญ่ไหลทั้งปีทั้งชาติ เราไม่ต้องเสียดายน้ำที่ไหลไปแล้ว ไม่ต้องกังวลกับน้ำที่ยังไหล มาไม่ถึง เรามีหน้าที่เพียงถ้าต้องการใช้น้ำ ก็ตักน้ำไปใช้ ชีวิตของเราตั้งแต่เกิดมาจนวันตาย จิตจะคิดรู้อารมณ์ ตลอดเวลา แต่เมื่อเรามาเจริญกรรมฐาน เราก็เอาความคิดมาใช้ประโยชน์ โดยเอามาเป็นที่ตั้งของสติ จะคิดไปกี่เรื่องไม่ต้องสนใจ ให้รู้ว่าจิตคิดดีอย่างนี้ คิดไม่ดีอย่างนี้

ตามความเป็นจริง ถ้าเรา รู้เท่าทันความคิดบ่อยๆ สติไวขึ้น ความคิดก็เบาลงไปเอง แต่จิต มีหน้าที่คิดอยู่อย่างนั้น แต่ว่าคิดอยู่กับปัจจุบัน ไม่คิดเรื่องอนาคต หรือเรื่องอดีตให้เราปวดหัว เหมือนกับธรรมชาติของน้ำ ธรรมชาติ ของน้ำคือธรรมชาติไหล ถ้าเรากั้นไว้มันก็ซึม ถ้าเราเอาพลาสติก มารองก้นไว้ก็ระเหย มันเป็นธรรมชาติของน้ำ ที่จะมีการเคลื่อนไหว ในตัวของมันเอง จิตก็เป็นธรรมชาติที่มีการเคลื่อนไหว มีการรับ รู้อารมณ์ แต่เราจะรับรู้อารมณ์อย่างไหน จึงจะเป็นประโยชน์ เราก็ฝึกรับรู้อารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน ฝึกให้จิตอยู่กับปัจจุบัน

เครื่องมือที่ ๔ คือ ธรรมานุปัสสนาติปัฏฐาน คำว่า ธรรมา ตัวนี้คือ ธรรมะ คือ ธรรมชาติที่มีอยู่จริง มีอยู่หลายบท หลายหัวข้อธรรม แต่หัวข้อธรรมที่เราจะนำมาใช้ในการภาวนา ก็คือหัวข้อธรรมเกี่ยวกับเรื่องของขันธ์เรื่องของอายตนะ เมื่ออายตนะสัมผัสกับอารมณ์ภายนอก ก็ให้มีสติ อย่าง เช่น ตาเห็น หูได้ยิน ก็ให้กำหนด เห็นหนอ ได้ยินหนอ หรือกำหนด กลิ่นหนอ รสหนอ สัมผัสหนอ เมื่อเรากำหนดได้ ก็ถือว่าเราได้เจริญ มรรค เจริญสัจธรรมในขณะนั้น อย่างเวลาที่เรากำลังฟังธรรมอยู่นี้ เสียงกระทบหู เกิดการ ได้ยิน เป็นทุกขธรรม เป็นทุกขสัจ ถ้าเรามีความยินดีพอใจในเสียง ที่ได้ยิน เป็นสมุทยสัจ แต่ถ้าได้ยินเสียงแล้วเรามีสติกำหนด ฟัง หนอ ได้ยินหนอ เป็น มรรคสัจ ขณะที่เรากำหนดลงไปนั้นเรียกว่า

เรากำหนดอายตนะสัมผัส เสียงกับหูเป็นรูปธรรม จิตที่ได้ยินเป็น นามธรรม ความโลภความชอบที่เกิดจากการได้ยิน เป็นนามธรรม ฝ่ายบาป แต่สติที่กำหนด ได้ยินหนอ เป็นนามธรรมฝ่ายบุญ นี่คือตัวธรรมที่กำลังเคลื่อนไหวไปตามเหตุตามปัจจัย เมื่อ สีกระทบตาเกิดการเห็น เป็นทุกขธรรม เห็นแล้วเกิดความชอบ ความพอใจในสิ่งที่ได้เห็นเป็น สมุทัย แต่ถ้าเห็นแล้วกำหนดการ เห็น เห็นหนอ เห็นหนอ เป็นมรรค เมื่อกำหนด เห็นหนอ กิเลสจะไม่ เกิดเพราะการเห็นนั้น จึงเป็นนิโรธ ดับตัณหา ดับความอยาก ดับ ความพอใจในสีนั้น มันจะเป็นไปโดยอัตโนมัติ กลิ่นกระทบจมูกเกิดการรู้กลิ่น เป็นทุกขธรรม กลิ่นเป็นรูป ขันธ์ ตัวรู้กลิ่นเป็นนามธรรม เป็นวิญญาณขันธ์ ตัวสติที่กำหนด กลิ่นหนอ เป็นสังขารขันธ์ ถ้ารู้สึกชอบในกลิ่น ตัวชอบเป็นสมุทัย แต่ถ้ามีสติกำหนดว่า ชอบใจหนอ เป็นมรรค ความชอบใจดับลง เป็นนิโรธ คือดับตัณหา ตัวมรรคนี้เป็นสังขารธรรม สมุทัยก็เป็น สังขารธรรม ถ้ามีสติก็เป็นสังขารธรรมฝ่ายดี ถ้าขาดสติก็เป็น สังขารธรรมฝ่ายชั่ว ฉะนั้นถ้าเรากำหนดลงไปที่ ตา หูจมูก ลิ้น กาย ใจ ที่ มีอารมณ์มากระทบสัมผัส เรียกว่าเป็นมรรค การกำหนดดูจิต จะเห็นอนิจจังของจิต จะละความ รู้สึกว่าจิตนี้เป็นของเที่ยง กำหนดดูธรรม จะเห็นอนัตตาของ ธรรม จะเห็นว่าธรรมนี้ไม่อยู่ในอำนาจ บังคับไม่ได้ แต่ฝึก ได้ถ้าฝึกมันก็ดีได้ถ้าไม่ฝึกมันก็ไม่ดีมันอยู่ที่การฝึก แต่ว่า เราบังคับให้เป็นดั่งใจไม่ได้นี่คือธรรมชาติของชีวิต

ชีวิตจะมีสุข มีทุกข์ก็เพราะการได้เห็น ได้ยินนี่แหละ อยู่ที่ว่า เราจะบริหารอย่างไร ถ้าเราบริหารถูก มันก็เป็นมรรค ถ้าเรา บริหารผิด มันก็เป็นสมุทัย เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ธรรมะจึงเป็นธรรมชาติเป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจ มันจะเกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย เมื่อใดเรามีความรู้สึก ว่า ฉันอยากจะเป็นอย่างนั้น ฉันไม่อยากเป็นอย่างนี้ความรู้สึก อย่างนั้นเป็นอัตตา แต่พอไม่เป็นดั่งใจทุกข์จึงเกิดขึ้น ดังนั้นตัวอริยะสัจนี้จึงมีในทุกขณะที่เราย่างก้าว ขณะที่เรา นั่งภาวนา ขณะที่เรานั่งฟังนี่แหละ ไม่ว่าจะเป็นตัวไหนใน ๔ ตัวนี้ เช่นขณะที่เราย่างก้าว ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ เท้าที่ก้าวย่าง ไป เป็นทุกขธรรม สติที่กำหนดการก้าวย่าง เป็นมรรค หรือขณะที่ ท้องพอง ท้องยุบ อาการพองยุบเป็นทุกขธรรม สติที่กำหนด พอง หนอ ยุบหนอ เป็นมรรค เพราะขณะที่เรากำหนดอยู่ กิเลสไม่เกิด จึงเป็นนิโรธ ดับตัณหา ดับกิเลสในขณะนั้นได้ แต่ถ้าเผลอเดินไป ลืมกำหนด หรือกำหนดซ้ายแต่เดินเป็นขวา กำหนดขวาแต่เดินเป็น ซ้าย มรรคก็ไม่เกิด นิโรธก็ไม่แจ้ง ดังนั้นเราจึงต้องพยายามฝึก เดิน นับเท้า นั่งนับท้อง โยคีบางคนกำหนด พองหนอ ยุบหนอ แต่พอถามว่า ยุบหายใจเข้าหรือหายใจออก ก็ตอบว่าหายใจเข้ายุบ หายใจ ออกพอง พอถามอีกทีว่าถ้าเราเป่าลมเข้าลูกโป่ง ลูกโป่งจะยุบ หรือจะพอง ก็ตอบว่าพอง แต่หายใจเข้าทำไมท้องยุบ แสดงว่า ไม่ได้กำหนดอยู่ที่ท้องจริงๆ ดังนั้นเราต้องน้อมจิตไปที่ท้อง ถ้าไม่รู้สึกจริงๆ ให้เอามือกุมหน้าท้อง จะรู้ว่าหายใจเข้า ท้องพอง หายใจออก ท้องยุบ บางคนก็คิดเอาแล้วบริกรรมว่า พองหนอ ยุบหนอ แต่ไม่รู้ว่าพอง ยุบ อยู่ที่ไหน อย่างนี้เป็นการบริกรรม เฉยๆ ไม่รู้ว่าอะไรพอง อะไรยุบ ที่ถูกต้อง เมื่อกำหนดพอง หนอ ท้องต้องพองจริงๆ ยุบหนอ ท้องต้องยุบจริงๆ อย่างนี้ หมายความว่า อยู่กับปัจจุบันแท้ไม่ได้คิดเอาเฉยๆ

ฉะนั้น ถ้าเรากำหนดอาการพอง ยุบ พอง ยุบ เป็นทุกข อริยสัจ เหตุให้เกิดอาการพอง ยุบ เป็นสมุทัย ก็คือ ลมหายใจเข้า ออก สติที่กำหนด พอง ยุบ เป็นมรรค กิเลสไม่เกิดในขณะที่กำหนด พอง ยุบ เป็นนิโรธ นี่คือเป็นอริยสัจ ๔ ในพอง ยุบ นี่เอง อริยสัจ มีอยู่ในตัวทุกคนเพียงแต่เราไม่พบ เพราะเราขาด ปัญญา เปรียบเทียบเหมือนกับว่า แร่ธาตุทุกอย่างที่มนุษย์นำมา ใช้นั้น มีอยู่แล้วในโลกนี้ อยู่บนดินบ้าง อยู่ในดินบ้าง อยู่ในอากาศ บ้าง คนในยุค ๑๐๐๐ ปีก่อน เขาไม่รู้จัก แต่คนในยุคปัจจุบัน สามารถนำเอาทรัพยากรเหล่านี้มาใช้ได้ ยังมีทรัพยากรอีกหลาย ชนิด ที่มนุษย์ยังนำมาใช้ประโยชน์ไม่ได้ เพราะขาดความรู้ขาด ปัญญา แต่ถ้ามนุษย์สามารถพัฒนาปัญญาให้ถึงที่สุด ก็จะได้ ประโยชน์จากทรัพยากรเหล่านั้นอีกมากมาย ฉะนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาปัญญา แต่ปัญญา ของเราไม่เท่ากัน

พระพุทธเจ้าตรัสว่า มีช้างตัวหนึ่ง โคตัวหนึ่ง กระต่ายตัวหนึ่ง ต้องการข้ามแม่น้ำ กระต่ายลงไปที่ฝั่งแม่น้ำ เท้า ของกระต่ายหยั่งลงถึงพื้นน้ำ ได้เพียงก้าวสองก้าวเท่านั้น จากนั้น กระต่ายต้องอาศัยความเพียร เอาเท้าพุ้ยน้ำไป โดยเท้าไม่สามารถหยั่งลงสู่พื้นน้ำได้ แต่ในที่สุดกระต่ายก็สามารถข้ามไปสู่ฝั่งโน้นได้ ทั้งที่เท้ากระต่ายเหยียบพื้นใกล้ฝั่งน้ำได้เพียงแค่คืบแค่ศอก จาก นั้นก็ไม่สามารถหยั่งถึงพื้นได้ เพราะขากระต่ายสั้น ต่อมาโคก็ลงไปที่แม่น้ำ เพื่อข้ามไปสู่ฝั่งโน้น ขาของโค สัมผัสพื้นได้เพียงสามวาห้าวาก็เจอน้ำลึก ไม่สามารถหยั่งถึงพื้นได้ จึงใช้เท้าพุ้ยน้ำไป จนข้ามไปถึงฝั่งโน้นได้ ช้างก็ข้ามแม่น้ำเหมือนกัน แต่เนื่องจากช้างตัวใหญ่ มันจึง สามารถใช้เท้าสัมผัสพื้นใต้น้ำได้ตลอด จนข้ามถึงฝั่งโน้นได้โดยง่าย

อันนี้เปรียบเทียบว่าปัญญาของพระสาวก และปัญญาของ พุทธศาสนิกชนทั่วไป ว่ามีปัญญาน้อยขนาดขากระต่าย หยั่งลงสู่ อริยสัจได้แค่พื้นๆ ปัญญาของพระปัจเจกพุทธเจ้า เปรียบเหมือนขา โค ที่ข้ามแม่น้ำโดยขาสัมผัสพื้นใต้น้ำเพียงส่วนหนึ่ง ส่วนปัญญาของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เห็นแจ้งในอริยสัจ เหมือนช้างที่สามารถใช้เท้า หยั่งลงสู่พื้นใต้น้ำได้ตลอด ตั้งแต่ฝั่งนี้ถึงฝั่งโน้น สัตว์ทั้ง ๓ ชนิดต่างก็ข้ามแม่น้ำได้สำเร็จเหมือนกัน แต่ มีความลึกซึ้งต่างกัน ปัญญาของพระสาวกและพุทธศาสนิกชน ทั่วไป แม้จะรู้น้อยแต่ก็สามารถข้ามฝั่งได้ หมายถึงเห็นแจ้งใน อริยสัจได้พอสมควร แต่ไม่ลึกซึ้งเท่ากับพระปัจเจกพุทธเจ้าและ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าเราอยากรู้อย่างพระพุทธเจ้าก็ต้อง สร้างพระบารมี ๓๐ ทัศ ให้เต็มบริบูรณ์ถ้าอยากรู้อย่างพระปัจเจก พุทธเจ้าก็สร้างบารมีให้ได้ครึ่งหนึ่งของพระพุทธเจ้า ก็จะเหมือน โคข้ามแม่น้ำ ถ้าเราเพียงแต่ขอให้ข้ามฝั่งให้พ้น ก็สร้างบารมีให้เหมือนสาวกพระพุทธเจ้าก็จะรู้อริยสัจเหมือนขากระต่าย ฉะนั้นขอให้เราเป็นกระต่ายก็แล้วกัน จะได้ข้ามได้ไวหน่อย ไม่ต้องสร้างบารมียาวนาน อริยสัจมีความละเอียดลึกซึ้งมาก เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้า พาพระภิกษุสงฆ์ไปอยู่ที่ป่าไม้ประดู่ลาย พระองค์ทรงใช้พระหัตถ์ กำใบประดู่ลายมาส่วนหนึ่ง แล้วตรัสถามพระภิกษุว่า ใบ ประดู่ลายในพระหัตถ์ของพระองค์กับใบประดู่ลายในป่า อย่าง ไหนจะมากกว่ากัน พระภิกษุตอบว่า ใบประดู่ลายในป่ามีมากกว่า

พระองค์จึงตรัสว่า ความรู้ที่พระองค์ได้ตรัสรู้แล้วนั้น เปรียบได้กับใบประดู่ลายในป่า แต่ความรู้ที่เป็นไปเพื่อการ ดับทุกข์นั้น เปรียบเหมือนกับใบประดู่ลายในพระหัตถ์ของ พระองค์ คือความรู้ที่เป็นไปเพื่อการดับทุกข์นั้นมีไม่มาก ไม่ ต้องศึกษาเล่าเรียนให้มาก เอาเพียงศาสตร์เดียวที่ทำให้พ้น ทุกข์ได้คือพุทธศาสตร์นอกนั้นเป็นศาสตร์เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง เลี้ยงชีวิต เราทั้งหลายที่มาปฏิบัติธรรมก็คือเรามาศึกษาพุทธศาสตร์ ศาสตร์ที่เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์ เมื่อเรียนรู้แล้วก็ลงมือปฏิบัติตาม ที่ได้เรียนรู้นั้น จึงจะมีโอกาสได้สัมผัสธรรมและโลกุตระธรรมต่อไป พระพุทธเจ้าทรงแสดงอริยสัจ ๔ และธัมมจักกัปปวัตตน สูตร อันเป็นจุดเริ่มต้นของพระพุทธศาสนา เมื่อพระองค์ทรงแสดง ธรรมจบ ท่านโกณฑัญญะได้บรรลุธรรม อย่างที่อาตมายกธรรมะขึ้น ต้นในตอนแรกว่า “ ยังกิญจิ สมุทยะธัมมังสัพพัญตัง นิโรธะธัมมัญติ ”

ท่านโกณฑัญญะมีปัญญาเห็นว่า “ ธรรมทั้งหลายมีความ เกิดขึ้นเป็นธรรมดา และมีความดับไปเป็นธรรมดา ”

นี่คือคุณธรรม ของความเป็นพระโสดาบัน พระอริยสงฆ์จึงเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกใน โลกในวันนั้น และพระรัตนตรัยจึงครบองค์ ๓ ประการ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จึงเกิดพระพุทธศาสนาขึ้นในโลก ตอนหลังจึงมี พระภิกษุณีบริษัท อุบาสกบริษัท อุบาสิกาบริษัท เกิดขึ้น พระธรรมวินัยมาถึงพวกเราในยุคนี้ก็เพราะบรรพบุรุษ ได้ช่วยกันป้องกันรักษาสัจธรรมต่อมา เรียกว่าหมุนกงล้อ ธรรมจักร คือหมุนมรรคนั้นเอง เมื่อเราปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ อยู่ตราบใด โลกนี้จะไม่ว่างจากพระอรหันต์ วันนี้เป็นวันที่พระองค์ทรงแสดงธรรมจักร ทำให้พระอริย สงฆ์เกิดขึ้น ทำให้พระพุทธศาสนาอุบัติขึ้น จึงเป็นการระลึกชอบ ที่ เรามาทำพิธีกรรมแสดงความเคารพ นอบน้อมต่อพระธรรมวินัยนี้ เรามาเวียนเทียนกันในวันนี้ ก็เพราะระลึกถึงพระคุณ ของพระพุทธเจ้า พระสงฆ์เป็นผู้รักษาความดีเหล่านี้ไว้ พวก เราจึงได้ศึกษาปฏิบัติกันจนถึงวันนี้ จึงเป็นหน้าที่ของพวกเรา ทุกรูปทุกคน ที่จะต้องใส่ใจในการรักษาพระศาสนา คือ รักษา คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าด้วยการนำมาประพฤติปฏิบัติ

ก็ขออำนวยพรให้พระสงฆ์ องค์เณรทุกรูป ตลอด จนถึงภิกษุณี แม่ชี โยคี ญาติโยม อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย ที่ได้ มาร่วมกิจกรรมในวันนี้ ได้แสดงออกถึงความเป็นพุทธศาสนิกชน ที่สมบูรณ์ จงเป็นผู้มีกำลังบุญ กำลังสติปัญญา ที่จะเคลื่อนพระ ธรรมจักรให้เจริญรุ่งเรืองในขันธสันดานของเรา และเป็นอานิสงส์ ปัจจัยให้ถึงพระนิพพานเป็นที่สุด อาตมภาพแสดงพระธรรมเทศนามาก็เห็นสมควรแก่เวลา จึงขอสมมุติยุติเพียงแค่นี้ก่อน เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้

พระภาวนาธรรมาภิรัช วิ.
สรรพธรรม ๔

กรรมฐาน

“กรรมฐาน” เป็นกระบวนการในการพัฒนาจิตใจ โดยเอาสิ่งที่เรามีอยู่ คือ กาย-ใจ เป็นที่ตั้งของสติ

ให้กรรมฐานโยคีผู้ปฏิบัติธรรม ณ ป่ายาง
การมาปฏิบัติธรรม เป็นการก้าวข้ามทุกข์ที่เกิดจากกิเลสจากการยึดมั่น ถือมั่น เราก็สามารถชนะกิเลสได้ เราก็จะทุกข์น้อยลง ก็เหลือแต่ทุกข์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติซึ่งเป็นสัจธรรม เช่น นั่งนานก็ปวด เจ็บ เหน็บ ชา เป็นต้น ดังนั้นเรารู้ว่าปวด เราก็ต้องมีสติในการกำหนด “ปวดหนอ” ถ้าไม่ไหวเราอยากเปลี่ยนท่า ก็มีสติในการเปลี่ยนท่าพร้อมกำหนดว่า “อยากเปลี่ยนหนอ” “อยากขยับหนอ” “ขยับหนอ” เป็นต้น ด้วยความเพียร ความอดทน

พระกรรมฐาน
“พระกรรมฐาน” คือ ที่ตั้งแห่งการกระทำ เป็นวิธีการกระทำที่ดีก่อให้เกิดผลอันประเสริฐและผลดีต่อเรา

พระ แปลว่า ประเสริฐ
พระ แปลว่า “ประเสริฐ” คือ บุคคลที่ตั้งอยู่ในศีล ในธรรมก่อให้เกิดผลดีต่อเรา

“กรรมฐาน” เป็นกระบวนการในการพัฒนาจิตใจ โดยเอาสิ่งที่เรามีอยู่ คือ กาย-ใจ เป็นที่ตั้งของสติพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสไว้ว่า ของหายากมี ๔ อย่าง

๑.การได้เกิดมาเป็นมนุษย์ยาก
ชีวิตมนุษย์ที่เกิดมาน้อยมากเมื่อเทียบกับสัตว์โลกอื่น ๆ เช่น สัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์เดรัจฉาน เป็นต้น เช่น ปลาในมหาสมุทรก็มีเยอแยะมากกมาย เป็นต้น เมื่อเราเกิดมาเป็นมนุษย์นั้นยาก เราจะต้องดูแลเอาใจใส่ตัวเอง และต้องทำประโยชน์ให้เกิดขึ้นทั้งกับตนเอง ครอบครัว สังคม หน้าที่การงาน เป็นต้น คนหลาย ๆ คน อาจทำอะไรมากมายตามอาชีพของตนทั้งที่เป็นโทษ เช่น การเชือดหมู-เป็ด-ไก่ เป็นต้น หรือปลูกพืชผักโดยใช้ยาฆ่าแมลง หรืออาชีพที่ไม่เป็นโทษ เช่น ตัดเสื้อผ้า เป็นต้น แต่วันนี้เราโชคดีที่ได้มาปฏิบัติธรรม เพื่อให้เราได้อยู่กับตัวเอง โดยการฝึกสติ สมาธิ ความเพียร ปัญญา เพื่อละกิเลส ระงับกิเลส หรือดับกิเลส และเป็นการเพิ่มคุณค่าให้กับตัวเอง เพิ่มค่าของความเป็นมนุษย์ซึ่งเป็นผู้มีจิตใจสูงด้วยการมีคุณธรรม มีศีล และมีธรรม

๒. การได้มีอายุยั่งยืนยาก
แสดงว่าเรามีอายุยืนซึ่งถือว่าเป็นการยาก บางคนเสียชีวิตตั้งแต่ยังอายุน้อย

๓. การเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้ายาก
ในประวัติศาสตร์ที่มนุษย์ได้บันทึกไว้ มนุษย์เกิดมาเมื่อหลายหมื่นหลายแสนปียังไม่เคยพบพระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นเมื่อ ๒,๖๐๙ ปีที่ผ่านมานี้เอง เมื่อครั้งเจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุธรรม และได้เข้าใจความจริงว่ามนุษย์เกิดมาแล้ว มีความแก่ คนเจ็บ คนตาย อะไรที่เป็นชีวิต อะไรที่อยู่ในวังวนของชีวิตก็เป็นทุกข์ เพราะต้องทำกิจกรรมตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงหลับนอนตลอด ๒๔ ชั่วโมงและหมุนเวียนไป ทั้งที่เป็นอัตโนมัติ เช่น การหายใจ การเต้นของหัวใจ เป็นต้น และสิ่งที่เราตั้งใจ เช่น อยากเดิน อยากลุก อยากทำนั้นอยากทำนี้ เกี่ยวกับธุรกิจการงาน เป็นต้น กระบวนการเหล่านี้เขาเรียกว่า “ทุกข์” ซึ่งจากปัจจัยที่เป็นกิเลสที่เป็นเหตุให้เกิดการขับเคลื่อน เช่น ความอยาก ความปรารถนา ความต้องการเพื่อให้เกิดความสำเร็จ ตัวอย่างถ้าต้องการอยากเรียนหนังสือก็ต้องเรียนให้จบ หรือถ้าต้องการมาปฏิบัติธรรมธรรมเพื่อให้เห็นทุกข์ และเพื่อความดีงามก็ต้องมานุ่งขาวห่มขาว กราบสติปัฏฐาน เดินจงกรม นั่งสมาธิ เจริญภาวนา ตั้งแต่ตีสี่จนถึงสามทุ่ม เป็นต้น

๔. การได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้ายาก
ธรรมชองพระพุทธเจ้า คือ อริยสัจ ๔ และสติปัฏฐาน ๔ อริยสัจ ๔ คือ ความคิดฟุ้งซ่าน เป็นเหตุให้ทุกข์เพราะไม่เห็นคุณค่าของชีวิตปัจจุบัน จากการไม่มีสมาธิ ไม่มีสติ ไม่มีปัญญา ไม่ว่าเราจะทำกิจกรรมอะไรก็ทุกข์ นั่งก็เป็นทุกข์ ทำวัตรก็เป็นทุกข์ ทำอย่างไงไม่ให้เกิดทุกข์ ก็ต้องตัดความคิดฟุ้งซ่านทั้งในอดีตและในอดีตออกให้หมด ด้วยการฝึก โดยถ้าเรารู้สึกตัวว่าเราคิดฟุ้งซ่านให้เราสังเกตว่าคิดฟุ้งซ่านเรื่องอะไร คิดเรื่องอนาคตหรือคิดเรื่องอดีต และคิดด้วยกำลังของความโลภ ความโกรธ ความหลง ความฟุ้ง ความอิจฉาริษยา เป็นต้น และที่คิดนั้นคิดด้วยกำลังของอะไร ด้วยความอิจฉา หรือความโกรธ หรือความหลง หรือความฟุ้งซ่าน ด้วยความไม่รู้ว่าทำไมต้องคิด เราต้องฝึกให้เรารู้จักคุณค่าของชีวิตที่เป็นปัจจุบัน เช่น ปัจจุบันขณะนี้เราได้กลิ่น เราก็กำหนด

“กลิ่นหนอ” กลิ่นอย่างนี้เราชอบหนอ หรือไม่ชอบหนอ หรือพอใจหนอ เราก็กำหนดว่า “ชอบหนอ” “ไม่ชอบหนอ”“พอใจหนอ” ถ้ากลิ่นเป็นเหตุให้เกิดความชอบ ผลก็คือ อยากกิน เป็นต้น จะเห็นว่ามีเหตุก็มีผล มีผลก็มาจากเหตุ นี่คือทุกข์ๆ สุข ๆ เขาเรียกว่า “สุขเพราะกิเลส” หรือ “ทุกข์เพราะกิเลส” หรือ “ทุกข์เพราะอริยะบท” หรือ “สุขเพราะได้อารมณ์ดั่งใจ” หรือ “สุขเพราะเราสามารถอดทนได้” หรือ “สุขเพราะก้าวข้ามมันได้”

“ทุกข์” คือ กิเลสที่เกิดจากกายและใจ

สมุทัย” คือ ทุกข์ที่เกิดจากกิเลส ทีทำให้เกิดโทษ คือ มีความโลภ โกรธ หลง ฟุ้งซ่าน รำคาญ สงสัย (ไม่ใช่ทุกข์ที่เกิดจากธรรมชาติที่มีอยู่แล้ว เช่น นั่งนานก็ต้องปวด กินแล้วก็ต้องถ่าย เกิดแล้วต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย เป็นต้น)

นิโรธ” คือ การดับกิเลสจากการมีสติสัมปชัญญะ และความเพียร

มรรค” คือ เหตุที่ก่อให้เกิดความดีงาม จากสติที่เกิดจากอริยะบทใหญ่ เช่น การเดิน ยืน นั่ง นอน ก้ม เงย คู้ เหยียด หรืออริยะบทย่อยจากการสัมผัสอารมณ์ทางกาย หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สามารถยับยั้งชั่งใจได้จากความอดทน ความเพียร

การมาปฏิบัติธรรม เป็นการก้าวข้ามทุกข์ที่เกิดจากกิเลสจากการยึดมั่น ถือมั่น เราก็สามารถชนะกิเลสได้ เราก็จะทุกข์น้อยลง ก็เหลือแต่ทุกข์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติซึ่งเป็นสัจธรรม เช่น นั่งนานก็ปวด เจ็บ เหน็บ ชา เป็นต้น ดังนั้นเรารู้ว่าปวดเรา เราก็ต้องมีสติในการกำหนด ปวดหนอ” เป็นต้น ถ้าไม่ไหวเราอยากเปลี่ยนท่า ก็มีสติในการเปลี่ยนท่าพร้อมกำหนดว่าอยากเปลี่ยนหนอ” “อยากขยับหนอ” “ขยับหนอ” เป็นต้น ด้วยความเพียร ความอดทน พระกรรมฐาน แปลว่า วิธีการฝึก

กรรมะ แปลว่า การกระทำ

ฐานะ แปลว่า ที่ตั้ง

พระกรรมฐาน คือ ที่ตั้งแห่งการกระทำ เป็นวิธีการกระทำที่ดีก่อให้เกิดผลอันประเสริฐและผลดีต่อเรา หรือบุคคลที่ตั้งอยู่ในศีล ในธรรม เราจึงเรียกว่า พระ แปลว่า สิ่งประเสริฐ วิธีการการกระทำที่ดีก่อให้เกิดผลดีต่อเรา ไม่มีโทษต่อเรา เราจึงเรียกว่า พระ แปลว่า สิ่งประเสริฐ

“กรรมฐาน” คือ ตัวเรา หรือ กาย-ใจ

ทำไมเราเอาตัวเรา หรือ กายและใจเป็น “กรรมฐาน” หรือเป็น “พระธรรม” ?

เพราะ เรามีลมหายใจ เราหายใจตั้งแต่เกิดแต่เป็นการหายใจเพื่อเลี้ยงกาย แต่ถ้าเราอาศัยการพองยุบ และมีสติในการหายใจ หายใจเข้า-พอง หายใจออก-ยุบ พร้อมกำหนด “พองหนอ” “ยุบหนอ” การหายใจนั้นก็เป็น “กรรมฐาน” เมื่อมีสติอยู่กับลมหายใจ สมาธิก็เกิด สมาธิที่เกิดกับลมหายใจทุกขณะอย่างต่อเนื่อง เราเรียกว่า “ขณิกสมาธิ” ถ้าเกิดสมาธิเกิดอย่างต่อเนื่องก็ “สงบ” มากขึ้น

อุปมาเหมือนเส้นด้ายเส้นเดียว ไม่เรียกว่า ผ้า
ถ้าเอาเส้นด้ายหลายเส้นมาทอรวมกัน เรียกว่า ผ้า
ถ้าเอาผ้ามาเย็บเป็นรูปร่าง เรียกว่า “เสื้อผ้า” และเรียกชื่อแตกต่างกัน เช่น สบง จีวร เสื้อ ผ้าถุง สไบ เป็นต้น

อากาศอยู่ทั่วไปรอบกาย เราเรียกว่า “อากาศ”
อากาศที่สูดเข้าไปในปอดเรา เรียกว่า “ลมหายใจ” ดังนั้นคนตายหายใจไม่ได้
อากาศที่สูดเข้าไปในปอด และรู้ลมหายใจเข้าออกอย่างมีสติ เอามาให้เกิดบุญ เป็นกรรมฐาน เรียกว่า “อาณาปานสติ” การหายใจอย่างมีสติขณะใด มันก็เป็นกรรมฐานขณะนั้น เช่นเดียวกัน ทุกคนเกิดมามีเท้าเดินเป็น แต่ถ้าเราเดินให้ได้บุญ คือการเดินอย่างมีสติ ขวาย่าง-รู้ว่าขาขวาย่าง ซ้ายย่าง-รู้ว่าขาซ้ายย่าง อย่างมีสติ และกำหนดรู้ว่า “ขวาย่างหนอ” “ซ้ายย่างหนอ” การเดินนั้นจึงเป็น “กรรมฐาน” เราจึงเรียกว่า “เดินจงกรม”

อุปมาเหมือนเส้นด้ายเส้นเดียว ไม่เรียกว่า ผ้า

ถ้าเอาเส้นด้ายหลายเส้นมาทอรวมกัน เรียกว่า ผ้า
ถ้าเอาผ้ามาเย็บเป็นรูปร่าง เรียกว่า “เสื้อผ้า” และเรียกชื่อแตกต่างกัน เช่น สบง จีวร เสื้อ ผ้าถุง สไบ เป็นต้น
อากาศอยู่ทั่วไปรอบกาย เราเรียกว่า “อากาศ”
อากาศที่สูดเข้าไปในปอดเรา เรียกว่า “ลมหายใจ” ดังนั้นคนตายหายใจไม่ได้
อากาศที่สูดเข้าไปในปอด และรู้ลมหายใจเข้าออกอย่างมีสติ เอามาให้เกิดบุญ เป็นกรรมฐาน เรียกว่า “อาณาปานสติ”

การหายใจอย่างมีสติขณะใด มันก็เป็นกรรมฐานขณะนั้น

เช่นเดียวกัน ทุกคนเกิดมามีเท้าเดินเป็น แต่ถ้าเราเดินให้ได้บุญ คือการเดินอย่างมีสติ ขวาย่าง-รู้ว่าขาขวาย่าง ซ้ายย่าง-รู้ว่าขาซ้ายย่าง อย่างมีสติ และกำหนดรู้ว่า “ขวาย่างหนอ” “ซ้ายย่างหนอ” การเดินนั้นจึงเป็น “กรรมฐาน” เราจึงเรียกว่า “เดินจงกรม”

ถ้าเรามีความเห็นว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น มีเหตุให้เกิด เราก็จะมีจิตน้อมไปในการทำความดี เช่นถ้ามีความเห็นว่าโลกหน้ามี ก็จะทำดีเพื่อโลกหน้า เพื่อความเจริญแห่งชีวิตในภพหน้าชาตินี้เป็นผลของชาติที่แล้ว ชาติที่แล้วทำดีทำชั่วอย่างไรมันก็ให้ผลเป็นทุกข์เป็นสุข เป็นความเจริญ ความเสื่อมในชาตินี้ปัจจุบันผลที่เราได้เสวยอยู่นี้ เป็นผลมาจากอดีตเหตุ และปัจจุบัน เหตุที่เราทำในชาติปัจจุบันก็จะเป็นอนาคตผลในชาติหน้าเพราะฉะนั้น เราจะรู้ได้เลยว่า อนาคตของเราจะเป็นอย่างไร ก็ดูที่ปัจจุบันเหตุ ดูว่าวันหนึ่ง อาทิตย์หนึ่ง เดือนหนึ่ง ปีหนึ่ง เราได้ทำดีมากน้อยอย่างไร ก็จะเป็นตัวกำหนดไปสู่อนาคตผลเราทำกรรมดีในปัจจุบัน ผลในอนาคตก็ดี ส่วนปัจจุบันผลที่เรารับอยู่ในชาตินี้ เป็นอดีตเหตุในชาติก่อนๆ เราไม่สามารถไปแก้ได้ แต่เราสามารถสร้างปัจจุบันเหตุในชาตินี้ให้สมบูรณ์ เพื่ออนาคตในวันข้างหน้า

คำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอปันนกะสูตร นี้พระองค์ไม่ได้สอนเฉพาะเรื่องความสิ้นกิเลสเท่านั้น แต่พระองค์

ทรงสอนธรรมะขั้นศีลธรรม คือการดำเนินชีวิตชอบ ว่าเราเองต้องวางแผนชีวิตเพื่ออนาคตที่ดี หรือเพื่อโลกหน้าที่ดี โลกนี้เราได้อย่างนี้ เพราะว่าบุญที่เราทำมาให้ผลระดับนี้ แต่ถ้าเราอยากให้ชีวิตของเราดีกว่านี้ สมบูรณ์กว่านี้ เราก็ต้องทำในสิ่งที่เป็นคุณเป็นกุศลให้มาก ผลจึงจะเกิดตามอานิสงส์ตามปัจจัย

อานิสงส์สูงสุดที่เราจะพึงมีได้ ก็คือเราจะสร้างเหตุอย่างไรให้สิ้นอาสวะกิเลส การที่เราจะสิ้นอาสวะ เข้าถึงความสิ้นทุกข์คือ พระนิพพาน ไม่ใช่ว่าเราจะเพียงแค่การอธิษฐาน ว่าขอให้เราถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะกิเลส แต่เราต้องลงมือปฏิบัติด้วย

องค์พระศาสดาทรงชี้ทางให้เราเดินเพื่อให้ถึงความพ้นทุกข์คือพระนิพพาน ทรงสอนให้เราเจริญวิปัสสนาหรือเจริญสติอยู่กับปัจจุบันขณะ อันเป็นความเพียรที่เราต้องทำในวันนี้ ใครเล่าจะรู้ความตายแม้ในวันพรุ่งนี้ ตามพระบาลีในภัทเทกรัตตคาถาว่า อัชเชวะ กิจจะมาตัปปัง โกชัญญา มะระณัง สุเว และพระองค์ยังได้ตรัสอีกว่า

” ท่านทั้งหลาย พึงพยายามทำความเพียรเถิด เพราะว่าความเพียรนั้นเป็นสิ่งที่จะทำให้เราพ้นทุกข์ได้ ” ดังที่บาลีท่านแสดงไว้ว่า วิริเยนะ ทุกขะมัจเจติ แปลว่า คนจะล่วงทุกข์ได้ เพราะความเพียรความเพียรหรือตบะเผากิเลสเป็นสิ่งที่เราต้องทำเอง ความเพียรนี้เป็นสัมมาวายามะ คือเพียรชอบ เพียรเจริญสติอยู่กับปัจจุบันขณะ หรือเป็นไปในสติปัฏฐาน 4 ก็เป็นสัมมาสติ คือระลึกชอบจิตที่ตั้งมั่นอยู่กับปัจจุบันขณะ ของกาย เวทนา จิต ธรรม เป็นสัมมาสมาธิ ความเห็นว่าทางนี้เท่านั้น เป็นทางที่จะออกจากทุกข์ได้เป็นสัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ความคิดที่เป็นไปเพื่อการออกจากตัณหา เป็นสัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ การที่เราพูดว่า ทางนี้เท่านั้นเป็นทางแห่งความพ้นทุกข์ เป็นสัมมาวาจา การกล่าววาจาชอบ

ธรรมะที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้นั้น เพื่อให้เราประพฤติปฏิบัติตาม แต่เราจะเข้าถึงความสิ้นทุกข์ได้ ก็อยู่ที่ความเพียรของเรา เราจะพ้นจากมารและบ่วงแห่งมารได้ ก็อยู่ที่ความเพียรในการเจริญสติสัมปชัญญะ

องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสว่า อารมณ์อันวิจิตร คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ต่างๆ ที่เป็นไปอย่างวิจิตร

พิสดารนั้น ไม่ใช่มารแต่ตัณหาราคะ ที่เข้าไปยึดติดในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ นั้นต่างหาก เป็นมาร รูปเสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ที่น่ารักน่าพอใจนั้นเป็นบ่วงมาร บาลีว่า มารพันธนา คือเป็นอารมณ์ที่ล่อให้เราเข้าไปยึดติดเหมือนกันกับดอกไม้ที่มีสีสวย กลิ่นหอม เป็นตัวล่อแมลงและผึ้งเช่นเดียวกับอารมณ์ที่ดีงามเหล่านั้น ก็เป็นเหยื่อล่อให้เกิดตัณหาราคะ ถ้าเราไม่ระวังให้เราเตือนตัวเองอยู่เสมอว่า รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสธรรมารมณ์ทั้งหลายที่วิจิตรพิสดารนั้นไม่ใช่มาร ไม่ใช่กิเลส ตัวกิเลสคือตัวตัณหาราคะที่เกิดขึ้นในใจเรา อารมณ์ดักจิตของมนุษย์ของสัตว์โลก ให้ผูกพันอยู่กับโลก ตัวมาร ตัวกิเลสจริงๆ เป็น ราคะ โทสะ โมหะ ที่เกิดในใจที่เป็นอกุศล อะปันนะกะ ปฏิปทา ซึ่งแปลว่า ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด เป็นไป

เพื่อความเจริญนั้นในเบื้องต้นก็คือการที่เราน้อมจิตเชื่อว่า บุญบาปมีจริง นรกสวรรค์มีจริง คุณบิดามารดามีจริง เชื่อเรื่องความกตัญญูกตเวทีเชื่อเรื่องความประพฤติดี ปฏิบัติดี เชื่อเรื่องการประพฤติชอบประกอบด้วยคุณธรรมและเชื่อว่ามนุษย์นั้นสามารถประพฤติตนจนถึงความสิ้นอาสวะ ถึงความเป็นพระอรหันต์ได้

“เราเป็นนักบวช เป็นภิกษุ ภิกษุณี สามเณร แม่ชี โยคีนั้น เราอยู่ในภาวะที่ถือพรหมจรรย์คือการออกจากกาม อย่างน้อยที่สุด ก็ออกจากกามด้วยกาย แม้ว่าจิตยังมีกระแสกามอยู่ แต่จิตก็น้อมออกจากกาม เห็นโทษของตัณหาราคะ”

เช่น การที่เราแยกกันอยู่คนละโซนระหว่าง ภิกษุ อุบาสก กับแม่ชี อุบาสิกาทั้งหลายเราพยายามเดินตามคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงสอนพระอานนท์ว่า ถ้าไม่เห็นได้เป็นการดี หญิงก็ไม่เห็นชาย ชายก็ไม่เห็นหญิง ถ้าจำเป็นต้องเห็นก็อย่าพูด ถ้าจำเป็นต้องพูด ก็ต้องพูดอย่างมีสติ หมายถึงว่า ถ้าเราอยู่ด้วยกันฉันพี่น้อง ฉันนักประพฤติปฏิบัติก็อยู่ด้วยกันได้ ไม่ต้องเอาเรื่องกิเลส เรื่องกามมาเกี่ยวข้อง อย่างนี้เป็นการดำเนินชีวิตให้เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อม คือถือพรหมจรรย์ประพฤติเนกขัมมะเมื่อเราเห็นโทษของกามแล้ว ก็พยายามพัฒนาจิตตนให้เท่าทันอารมณ์จสามารถระงับดับตัณหาที่เกิดจากตา หู จมูก ลิ้นกาย ใจ ได้ ถ้าเราสามารถประคองจิตได้ ก็สามารถดับความโลภโกรธ หลง ในใจได้ อารมณ์เหล่านั้นก็สักแต่ว่าเป็นอารมณ์ เหมือนกับพระอรหันต์เสพอารมณ์ที่สวยงามหรือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสที่ดี แต่ท่านก็ไม่มีกิเลสที่จะติดอยู่กับสิ่งเหล่านั้น แต่ถ้ารักษาจิตให้ดีก็สามารถระงับดับกิเลสได้ในช่วงเวลาที่มีสติสัมปชัญญะนั้น

ถ้าเราได้เจริญสติเจริญวิปัสสนาให้ต่อเนื่องแนบแน่นได้พัฒนาสัมมาทิฐิก็จะเกิดญาณรู้ว่า รูปนามขันธ์ 5 หรือกายใจนี้ เป็นทุกข์ บาลีว่า ทุกเข ญาณัง เห็นว่า รูปนามกายใจนี้มีความเสมอกัน ไม่ใช่หญิง ไม่ใช่ชาย ไม่ใช่พระ ไม่ใช่โยม เป็นเพียงรูปนามที่กำลังเป็นไปอยู่ ต่อไปก็จะเกิดญาณรู้ว่า ตัวตัณหา คือเหตุแห่งทุกข์เหตุให้เกิดรูปนาม เมื่อจะดับทุกข์ ดับรูปนามกายใจนี้ ก็ต้องดับที่ตัณหา คือความอยากเกิด อยากเป็นนั่นเป็นนี่การดับทุกข์ดับรูปดับนามนี้ ไม่ใช่เราเป็นผู้ดับ

บางคนมาปฏิบัติธรรมอยากจะดับทุกข์ อยากดับความโลภ ความโกรธ ความหลง แต่ถ้ายิ่งอยากดับก็ยิ่งทุกข์มากขึ้น เพราะเอาตัวตนเข้าไปดับแต่ความจริงตัวที่จะดับทุกข์ได้ คือ ปัญญาที่รู้แจ้งตามความจริง จึงจะดับความโลภ ความโกรธ ความหลงได้ เมื่อดับกิเลส 3 ตัวนี้ได้ ก็ดับทุกข์ได้ ปัญญาที่จะดับทุกข์ได้คือ ปัญญาที่ประกอบด้วยสติสัมปะปัญญะ มีสติรู้เท่าทันอารมณ์ปัจจุบัน ทุกขณะแห่งการยืนเดิน นั่ง นอน ก้าวย่าง ถ้าโยคาวจรทั้งหลายได้ทำกิจอย่างนี้ก็เรียกว่า ได้ทำตัวเองให้เป็นที่พึ่ง หรือได้ปฏิบัติในทางที่ถูก เป็นทางที่จะเป็นที่พึ่งแก่ตนได้

เมื่อองค์พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงแสดงธรรมแก่พราหมณ์และคฤหบดี ชาวบ้านศาลา ในแคว้นโกศล จบลงแล้ว เขาเหล่านั้นก็ยอมรับคำสอนขององค์พระศาสดา ประกาศตนว่า ขอเป็นอุบาสก อุบาสิกา ผู้ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะที่พึ่ง พวกเขากล่าวว่า คำสอนของพระองค์ช่างน่าอัศจรรย์ เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด หรือจุดประทีปในที่มืดเพื่อให้คนตาดีมองเห็น และทูลขอพระพุทธเจ้าให้ทรงจำพวกเขาว่า เป็นอุบาสก อุบาสิกา ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

องค์พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ได้ทรงบังคับ ไม่ได้ทรงชักชวนว่าขอท่านจงมาเป็นสาวกของเรา แต่พระองค์ทรง

บอกว่า ถ้าท่านไม่มีศาสดาที่ท่านเคารพนับถือ เราจะแนะนำท่านให้ประพฤติปฏิบัติอย่างนี้ ถ้าท่านพอใจท่านก็จะได้อานิสงส์ คือ ความสุขความเจริญแก่ตัวเอง

ที่วัดเราก็เหมือนกัน เวลาที่อาตมาสอบอารมณ์โยคีชาวต่างชาติ อาตมาก็ไม่ได้ชวนเขาว่า คุณจงมาเป็นชาวพุทธเถิดหรือคุณจงมานับถือพระพุทธศาสนา เมื่อเขาเลื่อมใสศรัทธาเขาก็จะมาเป็นชาวพุทธเอง ถ้ายังไม่ถึงขั้นนั้น เขาก็ได้ประโยชน์ มีโยคีชาวต่างชาติหลายคนกลับมาปฏิบัติรอบสองรอบสาม เขาบอกว่า เขายังปฏิบัติธรรมอยู่ทุกวัน เพราะเขาได้ประโยชน์จาการเจริญสติ ภาวนาแล้วมีจิตสงบ สุขุม มีความอดทนอดกลั้น ทำให้การดำเนินชีวิตเป็นไปด้วยดี ตอนหลังก็เริ่มบูชาพระพุทธรูปไปกราบไหว้ที่บ้าน เพราะเห็นประโยชน์จากการปฏิบัติธรรม ก็ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า

นี่คือการที่เราเอาความจริงหรือสัจธรรม ให้เขาได้ศึกษาตัวเขาเอง เช่นสอนว่า ธรรมะก็คือรูปนามขันธ์ 5 ที่เราสมมุติว่าเป็นกายใจของเรา เป็นตัวเรา การปฏิบัติธรรม ก็คือการปฏิบัติให้มีสติอยู่กับกายอยู่กับใจ การปฏิบัติธรรมก็คือ การเดินมรรค เดินมรรคได้สมบูรณ์ก็ดับกิเลสได้ เมื่อดับกิเลสได้ก็มีความสุขเป็นความสุขที่ได้จากการอยู่กับปัจจุบัน รู้ความจริงในปัจจุบัน ดับโลภ โกรธ หลงในปัจจุบันลงได้การรู้ธรรมอย่างนี้ เรียกว่าเป็นประจักษ์สิทธิ หรือ ปัจจัตตัง คือรู้ได้เฉพาะตน โดยไม่ต้องให้ใครบอก เหมือนเราจิบน้ำตาลหรือเกลือ เราก็จะรู้รสหวาน รสเค็มด้วยตนเอง เมื่อเราลงมือปฏิบัติธรรม เราก็จะรู้สุข รู้ทุกข์ด้วยตัวเองทันที นี่คือตัวสัจธรรม เป็นหลักธรรมที่เราสามารถเข้าถึงเองได้ และเมื่อปฏิบัติธรรมไปเรื่อยๆ ก็จะเกิดปัญญาที่จะพิจารณาว่า สิ่งนี้ควรเชื่อ สิ่งนี้ไม่ควรเชื่อ สิ่งนี้ควรนับถือ สิ่งนี้ไม่ควรนับถือสิ่งที่เราพึงประพฤติปฏิบัติที่ไม่ผิด ก็คือ ความเชื่อเรื่องบุญบาปว่ามีจริง เป็นพื้นฐาน ถ้าเรามีความเชื่ออย่างนี้ เรียกว่าเราอยู่ในฝ่ายของพระอริยะ เป็นทางที่จะไปถึงความสิ้นทุกข์เป็นที่สุด แต่ถ้าเราปฏิเสธ ก็เป็นฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์ต่อพระอริยะ ที่จะเป็นไปเพื่อมีทุกข์ สังสาระก็ยืนยาว

ธรรมะที่องค์พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้นั้น เป็นสิ่งที่จะต้องบำเพ็ญเอง ปฏิบัติเอง มีความเพียรบากบั่นเอง พระองค์และพระอริยะสงฆ์สาวก เป็นเพียงผู้ชี้บอกทาง การที่เราจะพ้นจากมารและบ่วงแห่งมารได้ ก็ต้องอาศัยความเพียรบากบั่นด้วยตนเอง เราต้องช่วยตัวเองจึงจะสามารถพ้นจากสังสาระเป็นที่สุดได้ และถึงแม้ว่าจะยังไม่พ้นจากสังสาระ เราก็มีสุคติภูมิ คือ มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติเป็นภพภายหน้า เราจึงต้องบากบั่นทำความดีด้วยตนเองตั้งแต่ระดับการให้ทาน รักษาศีล เจริญสมถะภาวนาและวิปัสสนาภาวนาเป็นที่สุด

การแสดงธรรมะในค่ำคืนนี้ ก็เห็นว่าสมควรแก่เวลา จึงขอสมมุติยุติลงคงไว้แต่เพียงเท่านี้ ขออำนาจแห่งบุญอันเกิดจากการฟังธรรมด้วยความเคารพนี้ จงเป็นอานิสงส์ส่งผลให้พวกเราทั้งหลาย เจริญในคุณธรรมในระดับเบื้องต้น จนถึงความสิ้นอาสวะกิเลสเป็นที่สุด จงบังเกิดมีแก่เราท่านทั้งหลาย จงทุกทั่วหน้ากันด้วยเทอญ….

พระภาวนาธรรมาภิรัช วิ.
หนังสือ สรรพธรรม 5 บทที่ 1