“กรรมฐาน” เป็นกระบวนการในการพัฒนาจิตใจ โดยเอาสิ่งที่เรามีอยู่ คือ กาย-ใจ เป็นที่ตั้งของสติ

ให้กรรมฐานโยคีผู้ปฏิบัติธรรม ณ ป่ายาง
การมาปฏิบัติธรรม เป็นการก้าวข้ามทุกข์ที่เกิดจากกิเลสจากการยึดมั่น ถือมั่น เราก็สามารถชนะกิเลสได้ เราก็จะทุกข์น้อยลง ก็เหลือแต่ทุกข์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติซึ่งเป็นสัจธรรม เช่น นั่งนานก็ปวด เจ็บ เหน็บ ชา เป็นต้น ดังนั้นเรารู้ว่าปวด เราก็ต้องมีสติในการกำหนด “ปวดหนอ” ถ้าไม่ไหวเราอยากเปลี่ยนท่า ก็มีสติในการเปลี่ยนท่าพร้อมกำหนดว่า “อยากเปลี่ยนหนอ” “อยากขยับหนอ” “ขยับหนอ” เป็นต้น ด้วยความเพียร ความอดทน

พระกรรมฐาน
“พระกรรมฐาน” คือ ที่ตั้งแห่งการกระทำ เป็นวิธีการกระทำที่ดีก่อให้เกิดผลอันประเสริฐและผลดีต่อเรา
พระ แปลว่า ประเสริฐ
พระ แปลว่า “ประเสริฐ” คือ บุคคลที่ตั้งอยู่ในศีล ในธรรมก่อให้เกิดผลดีต่อเรา
“กรรมฐาน” เป็นกระบวนการในการพัฒนาจิตใจ โดยเอาสิ่งที่เรามีอยู่ คือ กาย-ใจ เป็นที่ตั้งของสติพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสไว้ว่า ของหายากมี ๔ อย่าง
๑.การได้เกิดมาเป็นมนุษย์ยาก
ชีวิตมนุษย์ที่เกิดมาน้อยมากเมื่อเทียบกับสัตว์โลกอื่น ๆ เช่น สัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์เดรัจฉาน เป็นต้น เช่น ปลาในมหาสมุทรก็มีเยอแยะมากกมาย เป็นต้น เมื่อเราเกิดมาเป็นมนุษย์นั้นยาก เราจะต้องดูแลเอาใจใส่ตัวเอง และต้องทำประโยชน์ให้เกิดขึ้นทั้งกับตนเอง ครอบครัว สังคม หน้าที่การงาน เป็นต้น คนหลาย ๆ คน อาจทำอะไรมากมายตามอาชีพของตนทั้งที่เป็นโทษ เช่น การเชือดหมู-เป็ด-ไก่ เป็นต้น หรือปลูกพืชผักโดยใช้ยาฆ่าแมลง หรืออาชีพที่ไม่เป็นโทษ เช่น ตัดเสื้อผ้า เป็นต้น แต่วันนี้เราโชคดีที่ได้มาปฏิบัติธรรม เพื่อให้เราได้อยู่กับตัวเอง โดยการฝึกสติ สมาธิ ความเพียร ปัญญา เพื่อละกิเลส ระงับกิเลส หรือดับกิเลส และเป็นการเพิ่มคุณค่าให้กับตัวเอง เพิ่มค่าของความเป็นมนุษย์ซึ่งเป็นผู้มีจิตใจสูงด้วยการมีคุณธรรม มีศีล และมีธรรม
๒. การได้มีอายุยั่งยืนยาก
แสดงว่าเรามีอายุยืนซึ่งถือว่าเป็นการยาก บางคนเสียชีวิตตั้งแต่ยังอายุน้อย
๓. การเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้ายาก
ในประวัติศาสตร์ที่มนุษย์ได้บันทึกไว้ มนุษย์เกิดมาเมื่อหลายหมื่นหลายแสนปียังไม่เคยพบพระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นเมื่อ ๒,๖๐๙ ปีที่ผ่านมานี้เอง เมื่อครั้งเจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุธรรม และได้เข้าใจความจริงว่ามนุษย์เกิดมาแล้ว มีความแก่ คนเจ็บ คนตาย อะไรที่เป็นชีวิต อะไรที่อยู่ในวังวนของชีวิตก็เป็นทุกข์ เพราะต้องทำกิจกรรมตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงหลับนอนตลอด ๒๔ ชั่วโมงและหมุนเวียนไป ทั้งที่เป็นอัตโนมัติ เช่น การหายใจ การเต้นของหัวใจ เป็นต้น และสิ่งที่เราตั้งใจ เช่น อยากเดิน อยากลุก อยากทำนั้นอยากทำนี้ เกี่ยวกับธุรกิจการงาน เป็นต้น กระบวนการเหล่านี้เขาเรียกว่า “ทุกข์” ซึ่งจากปัจจัยที่เป็นกิเลสที่เป็นเหตุให้เกิดการขับเคลื่อน เช่น ความอยาก ความปรารถนา ความต้องการเพื่อให้เกิดความสำเร็จ ตัวอย่างถ้าต้องการอยากเรียนหนังสือก็ต้องเรียนให้จบ หรือถ้าต้องการมาปฏิบัติธรรมธรรมเพื่อให้เห็นทุกข์ และเพื่อความดีงามก็ต้องมานุ่งขาวห่มขาว กราบสติปัฏฐาน เดินจงกรม นั่งสมาธิ เจริญภาวนา ตั้งแต่ตีสี่จนถึงสามทุ่ม เป็นต้น
๔. การได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้ายาก
ธรรมชองพระพุทธเจ้า คือ อริยสัจ ๔ และสติปัฏฐาน ๔ อริยสัจ ๔ คือ ความคิดฟุ้งซ่าน เป็นเหตุให้ทุกข์เพราะไม่เห็นคุณค่าของชีวิตปัจจุบัน จากการไม่มีสมาธิ ไม่มีสติ ไม่มีปัญญา ไม่ว่าเราจะทำกิจกรรมอะไรก็ทุกข์ นั่งก็เป็นทุกข์ ทำวัตรก็เป็นทุกข์ ทำอย่างไงไม่ให้เกิดทุกข์ ก็ต้องตัดความคิดฟุ้งซ่านทั้งในอดีตและในอดีตออกให้หมด ด้วยการฝึก โดยถ้าเรารู้สึกตัวว่าเราคิดฟุ้งซ่านให้เราสังเกตว่าคิดฟุ้งซ่านเรื่องอะไร คิดเรื่องอนาคตหรือคิดเรื่องอดีต และคิดด้วยกำลังของความโลภ ความโกรธ ความหลง ความฟุ้ง ความอิจฉาริษยา เป็นต้น และที่คิดนั้นคิดด้วยกำลังของอะไร ด้วยความอิจฉา หรือความโกรธ หรือความหลง หรือความฟุ้งซ่าน ด้วยความไม่รู้ว่าทำไมต้องคิด เราต้องฝึกให้เรารู้จักคุณค่าของชีวิตที่เป็นปัจจุบัน เช่น ปัจจุบันขณะนี้เราได้กลิ่น เราก็กำหนด
“กลิ่นหนอ” กลิ่นอย่างนี้เราชอบหนอ หรือไม่ชอบหนอ หรือพอใจหนอ เราก็กำหนดว่า “ชอบหนอ” “ไม่ชอบหนอ”“พอใจหนอ” ถ้ากลิ่นเป็นเหตุให้เกิดความชอบ ผลก็คือ อยากกิน เป็นต้น จะเห็นว่ามีเหตุก็มีผล มีผลก็มาจากเหตุ นี่คือทุกข์ๆ สุข ๆ เขาเรียกว่า “สุขเพราะกิเลส” หรือ “ทุกข์เพราะกิเลส” หรือ “ทุกข์เพราะอริยะบท” หรือ “สุขเพราะได้อารมณ์ดั่งใจ” หรือ “สุขเพราะเราสามารถอดทนได้” หรือ “สุขเพราะก้าวข้ามมันได้”
“ทุกข์” คือ กิเลสที่เกิดจากกายและใจ
“สมุทัย” คือ ทุกข์ที่เกิดจากกิเลส ทีทำให้เกิดโทษ คือ มีความโลภ โกรธ หลง ฟุ้งซ่าน รำคาญ สงสัย (ไม่ใช่ทุกข์ที่เกิดจากธรรมชาติที่มีอยู่แล้ว เช่น นั่งนานก็ต้องปวด กินแล้วก็ต้องถ่าย เกิดแล้วต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย เป็นต้น)
“นิโรธ” คือ การดับกิเลสจากการมีสติสัมปชัญญะ และความเพียร
“มรรค” คือ เหตุที่ก่อให้เกิดความดีงาม จากสติที่เกิดจากอริยะบทใหญ่ เช่น การเดิน ยืน นั่ง นอน ก้ม เงย คู้ เหยียด หรืออริยะบทย่อยจากการสัมผัสอารมณ์ทางกาย หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สามารถยับยั้งชั่งใจได้จากความอดทน ความเพียร
การมาปฏิบัติธรรม เป็นการก้าวข้ามทุกข์ที่เกิดจากกิเลสจากการยึดมั่น ถือมั่น เราก็สามารถชนะกิเลสได้ เราก็จะทุกข์น้อยลง ก็เหลือแต่ทุกข์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติซึ่งเป็นสัจธรรม เช่น นั่งนานก็ปวด เจ็บ เหน็บ ชา เป็นต้น ดังนั้นเรารู้ว่าปวดเรา เราก็ต้องมีสติในการกำหนด “ปวดหนอ” เป็นต้น ถ้าไม่ไหวเราอยากเปลี่ยนท่า ก็มีสติในการเปลี่ยนท่าพร้อมกำหนดว่า “อยากเปลี่ยนหนอ” “อยากขยับหนอ” “ขยับหนอ” เป็นต้น ด้วยความเพียร ความอดทน พระกรรมฐาน แปลว่า วิธีการฝึก
กรรมะ แปลว่า การกระทำ
ฐานะ แปลว่า ที่ตั้ง
พระกรรมฐาน คือ ที่ตั้งแห่งการกระทำ เป็นวิธีการกระทำที่ดีก่อให้เกิดผลอันประเสริฐและผลดีต่อเรา หรือบุคคลที่ตั้งอยู่ในศีล ในธรรม เราจึงเรียกว่า พระ แปลว่า สิ่งประเสริฐ วิธีการการกระทำที่ดีก่อให้เกิดผลดีต่อเรา ไม่มีโทษต่อเรา เราจึงเรียกว่า พระ แปลว่า สิ่งประเสริฐ
“กรรมฐาน” คือ ตัวเรา หรือ กาย-ใจ
ทำไมเราเอาตัวเรา หรือ กายและใจเป็น “กรรมฐาน” หรือเป็น “พระธรรม” ?
เพราะ เรามีลมหายใจ เราหายใจตั้งแต่เกิดแต่เป็นการหายใจเพื่อเลี้ยงกาย แต่ถ้าเราอาศัยการพองยุบ และมีสติในการหายใจ หายใจเข้า-พอง หายใจออก-ยุบ พร้อมกำหนด “พองหนอ” “ยุบหนอ” การหายใจนั้นก็เป็น “กรรมฐาน” เมื่อมีสติอยู่กับลมหายใจ สมาธิก็เกิด สมาธิที่เกิดกับลมหายใจทุกขณะอย่างต่อเนื่อง เราเรียกว่า “ขณิกสมาธิ” ถ้าเกิดสมาธิเกิดอย่างต่อเนื่องก็ “สงบ” มากขึ้น
อุปมาเหมือนเส้นด้ายเส้นเดียว ไม่เรียกว่า ผ้า
ถ้าเอาเส้นด้ายหลายเส้นมาทอรวมกัน เรียกว่า ผ้า
ถ้าเอาผ้ามาเย็บเป็นรูปร่าง เรียกว่า “เสื้อผ้า” และเรียกชื่อแตกต่างกัน เช่น สบง จีวร เสื้อ ผ้าถุง สไบ เป็นต้น
อากาศอยู่ทั่วไปรอบกาย เราเรียกว่า “อากาศ”
อากาศที่สูดเข้าไปในปอดเรา เรียกว่า “ลมหายใจ” ดังนั้นคนตายหายใจไม่ได้
อากาศที่สูดเข้าไปในปอด และรู้ลมหายใจเข้าออกอย่างมีสติ เอามาให้เกิดบุญ เป็นกรรมฐาน เรียกว่า “อาณาปานสติ” การหายใจอย่างมีสติขณะใด มันก็เป็นกรรมฐานขณะนั้น เช่นเดียวกัน ทุกคนเกิดมามีเท้าเดินเป็น แต่ถ้าเราเดินให้ได้บุญ คือการเดินอย่างมีสติ ขวาย่าง-รู้ว่าขาขวาย่าง ซ้ายย่าง-รู้ว่าขาซ้ายย่าง อย่างมีสติ และกำหนดรู้ว่า “ขวาย่างหนอ” “ซ้ายย่างหนอ” การเดินนั้นจึงเป็น “กรรมฐาน” เราจึงเรียกว่า “เดินจงกรม”
อุปมาเหมือนเส้นด้ายเส้นเดียว ไม่เรียกว่า ผ้า
ถ้าเอาเส้นด้ายหลายเส้นมาทอรวมกัน เรียกว่า ผ้า
ถ้าเอาผ้ามาเย็บเป็นรูปร่าง เรียกว่า “เสื้อผ้า” และเรียกชื่อแตกต่างกัน เช่น สบง จีวร เสื้อ ผ้าถุง สไบ เป็นต้น
อากาศอยู่ทั่วไปรอบกาย เราเรียกว่า “อากาศ”
อากาศที่สูดเข้าไปในปอดเรา เรียกว่า “ลมหายใจ” ดังนั้นคนตายหายใจไม่ได้
อากาศที่สูดเข้าไปในปอด และรู้ลมหายใจเข้าออกอย่างมีสติ เอามาให้เกิดบุญ เป็นกรรมฐาน เรียกว่า “อาณาปานสติ”
การหายใจอย่างมีสติขณะใด มันก็เป็นกรรมฐานขณะนั้น
เช่นเดียวกัน ทุกคนเกิดมามีเท้าเดินเป็น แต่ถ้าเราเดินให้ได้บุญ คือการเดินอย่างมีสติ ขวาย่าง-รู้ว่าขาขวาย่าง ซ้ายย่าง-รู้ว่าขาซ้ายย่าง อย่างมีสติ และกำหนดรู้ว่า “ขวาย่างหนอ” “ซ้ายย่างหนอ” การเดินนั้นจึงเป็น “กรรมฐาน” เราจึงเรียกว่า “เดินจงกรม”

ถ้าเรามีความเห็นว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น มีเหตุให้เกิด เราก็จะมีจิตน้อมไปในการทำความดี เช่นถ้ามีความเห็นว่าโลกหน้ามี ก็จะทำดีเพื่อโลกหน้า เพื่อความเจริญแห่งชีวิตในภพหน้าชาตินี้เป็นผลของชาติที่แล้ว ชาติที่แล้วทำดีทำชั่วอย่างไรมันก็ให้ผลเป็นทุกข์เป็นสุข เป็นความเจริญ ความเสื่อมในชาตินี้ปัจจุบันผลที่เราได้เสวยอยู่นี้ เป็นผลมาจากอดีตเหตุ และปัจจุบัน เหตุที่เราทำในชาติปัจจุบันก็จะเป็นอนาคตผลในชาติหน้าเพราะฉะนั้น เราจะรู้ได้เลยว่า อนาคตของเราจะเป็นอย่างไร ก็ดูที่ปัจจุบันเหตุ ดูว่าวันหนึ่ง อาทิตย์หนึ่ง เดือนหนึ่ง ปีหนึ่ง เราได้ทำดีมากน้อยอย่างไร ก็จะเป็นตัวกำหนดไปสู่อนาคตผลเราทำกรรมดีในปัจจุบัน ผลในอนาคตก็ดี ส่วนปัจจุบันผลที่เรารับอยู่ในชาตินี้ เป็นอดีตเหตุในชาติก่อนๆ เราไม่สามารถไปแก้ได้ แต่เราสามารถสร้างปัจจุบันเหตุในชาตินี้ให้สมบูรณ์ เพื่ออนาคตในวันข้างหน้า
คำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอปันนกะสูตร นี้พระองค์ไม่ได้สอนเฉพาะเรื่องความสิ้นกิเลสเท่านั้น แต่พระองค์
ทรงสอนธรรมะขั้นศีลธรรม คือการดำเนินชีวิตชอบ ว่าเราเองต้องวางแผนชีวิตเพื่ออนาคตที่ดี หรือเพื่อโลกหน้าที่ดี โลกนี้เราได้อย่างนี้ เพราะว่าบุญที่เราทำมาให้ผลระดับนี้ แต่ถ้าเราอยากให้ชีวิตของเราดีกว่านี้ สมบูรณ์กว่านี้ เราก็ต้องทำในสิ่งที่เป็นคุณเป็นกุศลให้มาก ผลจึงจะเกิดตามอานิสงส์ตามปัจจัย
อานิสงส์สูงสุดที่เราจะพึงมีได้ ก็คือเราจะสร้างเหตุอย่างไรให้สิ้นอาสวะกิเลส การที่เราจะสิ้นอาสวะ เข้าถึงความสิ้นทุกข์คือ พระนิพพาน ไม่ใช่ว่าเราจะเพียงแค่การอธิษฐาน ว่าขอให้เราถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะกิเลส แต่เราต้องลงมือปฏิบัติด้วย
องค์พระศาสดาทรงชี้ทางให้เราเดินเพื่อให้ถึงความพ้นทุกข์คือพระนิพพาน ทรงสอนให้เราเจริญวิปัสสนาหรือเจริญสติอยู่กับปัจจุบันขณะ อันเป็นความเพียรที่เราต้องทำในวันนี้ ใครเล่าจะรู้ความตายแม้ในวันพรุ่งนี้ ตามพระบาลีในภัทเทกรัตตคาถาว่า อัชเชวะ กิจจะมาตัปปัง โกชัญญา มะระณัง สุเว และพระองค์ยังได้ตรัสอีกว่า
” ท่านทั้งหลาย พึงพยายามทำความเพียรเถิด เพราะว่าความเพียรนั้นเป็นสิ่งที่จะทำให้เราพ้นทุกข์ได้ ” ดังที่บาลีท่านแสดงไว้ว่า วิริเยนะ ทุกขะมัจเจติ แปลว่า คนจะล่วงทุกข์ได้ เพราะความเพียรความเพียรหรือตบะเผากิเลสเป็นสิ่งที่เราต้องทำเอง ความเพียรนี้เป็นสัมมาวายามะ คือเพียรชอบ เพียรเจริญสติอยู่กับปัจจุบันขณะ หรือเป็นไปในสติปัฏฐาน 4 ก็เป็นสัมมาสติ คือระลึกชอบจิตที่ตั้งมั่นอยู่กับปัจจุบันขณะ ของกาย เวทนา จิต ธรรม เป็นสัมมาสมาธิ ความเห็นว่าทางนี้เท่านั้น เป็นทางที่จะออกจากทุกข์ได้เป็นสัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ความคิดที่เป็นไปเพื่อการออกจากตัณหา เป็นสัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ การที่เราพูดว่า ทางนี้เท่านั้นเป็นทางแห่งความพ้นทุกข์ เป็นสัมมาวาจา การกล่าววาจาชอบ
ธรรมะที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้นั้น เพื่อให้เราประพฤติปฏิบัติตาม แต่เราจะเข้าถึงความสิ้นทุกข์ได้ ก็อยู่ที่ความเพียรของเรา เราจะพ้นจากมารและบ่วงแห่งมารได้ ก็อยู่ที่ความเพียรในการเจริญสติสัมปชัญญะ
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสว่า อารมณ์อันวิจิตร คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ต่างๆ ที่เป็นไปอย่างวิจิตร
พิสดารนั้น ไม่ใช่มารแต่ตัณหาราคะ ที่เข้าไปยึดติดในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ นั้นต่างหาก เป็นมาร รูปเสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ที่น่ารักน่าพอใจนั้นเป็นบ่วงมาร บาลีว่า มารพันธนา คือเป็นอารมณ์ที่ล่อให้เราเข้าไปยึดติดเหมือนกันกับดอกไม้ที่มีสีสวย กลิ่นหอม เป็นตัวล่อแมลงและผึ้งเช่นเดียวกับอารมณ์ที่ดีงามเหล่านั้น ก็เป็นเหยื่อล่อให้เกิดตัณหาราคะ ถ้าเราไม่ระวังให้เราเตือนตัวเองอยู่เสมอว่า รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสธรรมารมณ์ทั้งหลายที่วิจิตรพิสดารนั้นไม่ใช่มาร ไม่ใช่กิเลส ตัวกิเลสคือตัวตัณหาราคะที่เกิดขึ้นในใจเรา อารมณ์ดักจิตของมนุษย์ของสัตว์โลก ให้ผูกพันอยู่กับโลก ตัวมาร ตัวกิเลสจริงๆ เป็น ราคะ โทสะ โมหะ ที่เกิดในใจที่เป็นอกุศล อะปันนะกะ ปฏิปทา ซึ่งแปลว่า ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด เป็นไป
เพื่อความเจริญนั้นในเบื้องต้นก็คือการที่เราน้อมจิตเชื่อว่า บุญบาปมีจริง นรกสวรรค์มีจริง คุณบิดามารดามีจริง เชื่อเรื่องความกตัญญูกตเวทีเชื่อเรื่องความประพฤติดี ปฏิบัติดี เชื่อเรื่องการประพฤติชอบประกอบด้วยคุณธรรมและเชื่อว่ามนุษย์นั้นสามารถประพฤติตนจนถึงความสิ้นอาสวะ ถึงความเป็นพระอรหันต์ได้
“เราเป็นนักบวช เป็นภิกษุ ภิกษุณี สามเณร แม่ชี โยคีนั้น เราอยู่ในภาวะที่ถือพรหมจรรย์คือการออกจากกาม อย่างน้อยที่สุด ก็ออกจากกามด้วยกาย แม้ว่าจิตยังมีกระแสกามอยู่ แต่จิตก็น้อมออกจากกาม เห็นโทษของตัณหาราคะ”
เช่น การที่เราแยกกันอยู่คนละโซนระหว่าง ภิกษุ อุบาสก กับแม่ชี อุบาสิกาทั้งหลายเราพยายามเดินตามคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงสอนพระอานนท์ว่า ถ้าไม่เห็นได้เป็นการดี หญิงก็ไม่เห็นชาย ชายก็ไม่เห็นหญิง ถ้าจำเป็นต้องเห็นก็อย่าพูด ถ้าจำเป็นต้องพูด ก็ต้องพูดอย่างมีสติ หมายถึงว่า ถ้าเราอยู่ด้วยกันฉันพี่น้อง ฉันนักประพฤติปฏิบัติก็อยู่ด้วยกันได้ ไม่ต้องเอาเรื่องกิเลส เรื่องกามมาเกี่ยวข้อง อย่างนี้เป็นการดำเนินชีวิตให้เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อม คือถือพรหมจรรย์ประพฤติเนกขัมมะเมื่อเราเห็นโทษของกามแล้ว ก็พยายามพัฒนาจิตตนให้เท่าทันอารมณ์จสามารถระงับดับตัณหาที่เกิดจากตา หู จมูก ลิ้นกาย ใจ ได้ ถ้าเราสามารถประคองจิตได้ ก็สามารถดับความโลภโกรธ หลง ในใจได้ อารมณ์เหล่านั้นก็สักแต่ว่าเป็นอารมณ์ เหมือนกับพระอรหันต์เสพอารมณ์ที่สวยงามหรือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสที่ดี แต่ท่านก็ไม่มีกิเลสที่จะติดอยู่กับสิ่งเหล่านั้น แต่ถ้ารักษาจิตให้ดีก็สามารถระงับดับกิเลสได้ในช่วงเวลาที่มีสติสัมปชัญญะนั้น
ถ้าเราได้เจริญสติเจริญวิปัสสนาให้ต่อเนื่องแนบแน่นได้พัฒนาสัมมาทิฐิก็จะเกิดญาณรู้ว่า รูปนามขันธ์ 5 หรือกายใจนี้ เป็นทุกข์ บาลีว่า ทุกเข ญาณัง เห็นว่า รูปนามกายใจนี้มีความเสมอกัน ไม่ใช่หญิง ไม่ใช่ชาย ไม่ใช่พระ ไม่ใช่โยม เป็นเพียงรูปนามที่กำลังเป็นไปอยู่ ต่อไปก็จะเกิดญาณรู้ว่า ตัวตัณหา คือเหตุแห่งทุกข์เหตุให้เกิดรูปนาม เมื่อจะดับทุกข์ ดับรูปนามกายใจนี้ ก็ต้องดับที่ตัณหา คือความอยากเกิด อยากเป็นนั่นเป็นนี่การดับทุกข์ดับรูปดับนามนี้ ไม่ใช่เราเป็นผู้ดับ
บางคนมาปฏิบัติธรรมอยากจะดับทุกข์ อยากดับความโลภ ความโกรธ ความหลง แต่ถ้ายิ่งอยากดับก็ยิ่งทุกข์มากขึ้น เพราะเอาตัวตนเข้าไปดับแต่ความจริงตัวที่จะดับทุกข์ได้ คือ ปัญญาที่รู้แจ้งตามความจริง จึงจะดับความโลภ ความโกรธ ความหลงได้ เมื่อดับกิเลส 3 ตัวนี้ได้ ก็ดับทุกข์ได้ ปัญญาที่จะดับทุกข์ได้คือ ปัญญาที่ประกอบด้วยสติสัมปะปัญญะ มีสติรู้เท่าทันอารมณ์ปัจจุบัน ทุกขณะแห่งการยืนเดิน นั่ง นอน ก้าวย่าง ถ้าโยคาวจรทั้งหลายได้ทำกิจอย่างนี้ก็เรียกว่า ได้ทำตัวเองให้เป็นที่พึ่ง หรือได้ปฏิบัติในทางที่ถูก เป็นทางที่จะเป็นที่พึ่งแก่ตนได้
เมื่อองค์พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงแสดงธรรมแก่พราหมณ์และคฤหบดี ชาวบ้านศาลา ในแคว้นโกศล จบลงแล้ว เขาเหล่านั้นก็ยอมรับคำสอนขององค์พระศาสดา ประกาศตนว่า ขอเป็นอุบาสก อุบาสิกา ผู้ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะที่พึ่ง พวกเขากล่าวว่า คำสอนของพระองค์ช่างน่าอัศจรรย์ เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด หรือจุดประทีปในที่มืดเพื่อให้คนตาดีมองเห็น และทูลขอพระพุทธเจ้าให้ทรงจำพวกเขาว่า เป็นอุบาสก อุบาสิกา ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
องค์พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ได้ทรงบังคับ ไม่ได้ทรงชักชวนว่าขอท่านจงมาเป็นสาวกของเรา แต่พระองค์ทรง
บอกว่า ถ้าท่านไม่มีศาสดาที่ท่านเคารพนับถือ เราจะแนะนำท่านให้ประพฤติปฏิบัติอย่างนี้ ถ้าท่านพอใจท่านก็จะได้อานิสงส์ คือ ความสุขความเจริญแก่ตัวเอง
ที่วัดเราก็เหมือนกัน เวลาที่อาตมาสอบอารมณ์โยคีชาวต่างชาติ อาตมาก็ไม่ได้ชวนเขาว่า คุณจงมาเป็นชาวพุทธเถิดหรือคุณจงมานับถือพระพุทธศาสนา เมื่อเขาเลื่อมใสศรัทธาเขาก็จะมาเป็นชาวพุทธเอง ถ้ายังไม่ถึงขั้นนั้น เขาก็ได้ประโยชน์ มีโยคีชาวต่างชาติหลายคนกลับมาปฏิบัติรอบสองรอบสาม เขาบอกว่า เขายังปฏิบัติธรรมอยู่ทุกวัน เพราะเขาได้ประโยชน์จาการเจริญสติ ภาวนาแล้วมีจิตสงบ สุขุม มีความอดทนอดกลั้น ทำให้การดำเนินชีวิตเป็นไปด้วยดี ตอนหลังก็เริ่มบูชาพระพุทธรูปไปกราบไหว้ที่บ้าน เพราะเห็นประโยชน์จากการปฏิบัติธรรม ก็ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า
นี่คือการที่เราเอาความจริงหรือสัจธรรม ให้เขาได้ศึกษาตัวเขาเอง เช่นสอนว่า ธรรมะก็คือรูปนามขันธ์ 5 ที่เราสมมุติว่าเป็นกายใจของเรา เป็นตัวเรา การปฏิบัติธรรม ก็คือการปฏิบัติให้มีสติอยู่กับกายอยู่กับใจ การปฏิบัติธรรมก็คือ การเดินมรรค เดินมรรคได้สมบูรณ์ก็ดับกิเลสได้ เมื่อดับกิเลสได้ก็มีความสุขเป็นความสุขที่ได้จากการอยู่กับปัจจุบัน รู้ความจริงในปัจจุบัน ดับโลภ โกรธ หลงในปัจจุบันลงได้การรู้ธรรมอย่างนี้ เรียกว่าเป็นประจักษ์สิทธิ หรือ ปัจจัตตัง คือรู้ได้เฉพาะตน โดยไม่ต้องให้ใครบอก เหมือนเราจิบน้ำตาลหรือเกลือ เราก็จะรู้รสหวาน รสเค็มด้วยตนเอง เมื่อเราลงมือปฏิบัติธรรม เราก็จะรู้สุข รู้ทุกข์ด้วยตัวเองทันที นี่คือตัวสัจธรรม เป็นหลักธรรมที่เราสามารถเข้าถึงเองได้ และเมื่อปฏิบัติธรรมไปเรื่อยๆ ก็จะเกิดปัญญาที่จะพิจารณาว่า สิ่งนี้ควรเชื่อ สิ่งนี้ไม่ควรเชื่อ สิ่งนี้ควรนับถือ สิ่งนี้ไม่ควรนับถือสิ่งที่เราพึงประพฤติปฏิบัติที่ไม่ผิด ก็คือ ความเชื่อเรื่องบุญบาปว่ามีจริง เป็นพื้นฐาน ถ้าเรามีความเชื่ออย่างนี้ เรียกว่าเราอยู่ในฝ่ายของพระอริยะ เป็นทางที่จะไปถึงความสิ้นทุกข์เป็นที่สุด แต่ถ้าเราปฏิเสธ ก็เป็นฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์ต่อพระอริยะ ที่จะเป็นไปเพื่อมีทุกข์ สังสาระก็ยืนยาว
ธรรมะที่องค์พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้นั้น เป็นสิ่งที่จะต้องบำเพ็ญเอง ปฏิบัติเอง มีความเพียรบากบั่นเอง พระองค์และพระอริยะสงฆ์สาวก เป็นเพียงผู้ชี้บอกทาง การที่เราจะพ้นจากมารและบ่วงแห่งมารได้ ก็ต้องอาศัยความเพียรบากบั่นด้วยตนเอง เราต้องช่วยตัวเองจึงจะสามารถพ้นจากสังสาระเป็นที่สุดได้ และถึงแม้ว่าจะยังไม่พ้นจากสังสาระ เราก็มีสุคติภูมิ คือ มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติเป็นภพภายหน้า เราจึงต้องบากบั่นทำความดีด้วยตนเองตั้งแต่ระดับการให้ทาน รักษาศีล เจริญสมถะภาวนาและวิปัสสนาภาวนาเป็นที่สุด
การแสดงธรรมะในค่ำคืนนี้ ก็เห็นว่าสมควรแก่เวลา จึงขอสมมุติยุติลงคงไว้แต่เพียงเท่านี้ ขออำนาจแห่งบุญอันเกิดจากการฟังธรรมด้วยความเคารพนี้ จงเป็นอานิสงส์ส่งผลให้พวกเราทั้งหลาย เจริญในคุณธรรมในระดับเบื้องต้น จนถึงความสิ้นอาสวะกิเลสเป็นที่สุด จงบังเกิดมีแก่เราท่านทั้งหลาย จงทุกทั่วหน้ากันด้วยเทอญ….
พระภาวนาธรรมาภิรัช วิ.
หนังสือ สรรพธรรม 5 บทที่ 1