top of page
หลังคาวิหารลายคำ_edited.png

วิหารลายคำ   
พระพุทธอะตะปามหามุนีปฏิมากร

สถาปัตยกรรมลายคำ

รมณียวิปัสสนาสถาน แห่งล้านนา

หลวงปู-01.png

พระพรหมมงคล วิ.
(หลวงปู่ทอง สิริมังคลมหาเถร)
อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร

องค์ฟื้นฟู และบูรณะวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม)

พระภาวนาธรรมาภิรัช วิ. (สุพันธ์ อาจิณฺณสีโล)
เจ้าอาวาสวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน
รองเจ้าคณะอำเภอเมืองเชียงใหม่

รูปอาจารย์-01.png

การพัฒนาวัดให้เป็นรมณียวิปัสสนาสถาน และความเป็นสถาปัตยกรรมในรูปแบบพุทธศิลปกรรมของวิหารลายคำแบบล้านนา 
วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) มีความสมบูรณ์มั่นคงในทางพระพุทธศาสนา อันเป็นแนวทางของหลักการสร้างวัดและการบริหารจัดการได้แก่ ด้านอาวาสสัปปายะ ด้านโคจรสัปปายะ ด้านภัสสสัปปายะ ด้านปุคคลสัปปายะ ด้านโภชนสัปปายะ ด้านอุตุสัปปายะ ด้านอิริยาปถสัปปายะ ถือว่าเป็นหลักการที่ก่อให้เกิดกระบวนการพัฒนาวัดให้มีความรื่นรมย์ เป็นสิ่งที่เหมาะสมกันเกื้อกูลกัน ส่งเสริมสนับสนุนในการบำเพ็ญภาวนาให้ได้ผลดี ปฏิบัติพัฒนาตนเอง สมาธิตั้งมั่น ไม่เสื่อมถอย เป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชน เป็นพื้นที่ให้พุทธศาสนิกชน ได้มาเรียนรู้เพื่อพัฒนาด้านกาย ด้านจิตใจ ด้านอารมณ์ และด้านปัญญา วัดในพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นสถาบันหลักของชุมชนที่ให้จัดการการศึกษาสำหรับพระภิกษุสามเณร และยังเป็นที่อบรมบ่มนิสัย ขัดเกลาฝึกฝนเหล่ากุลบุตรที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา โดยผ่านกระบวนการฝึกอบรมตามระเบียบพระธรรมวินัยและระบบของวัดที่ได้จัดไว้อย่างมีแบบแผนแล้ว วัดยังเป็นที่พึ่งพิงอาศัยของมนุษย์ทุกหมู่เหล่าเมื่อได้รับการสั่งสอนและมีการขัดเกลาชี้นำอยู่เสมอจนเกิดการเรียนรู้ซึมซาบเข้าสู่จิตรู้ว่าสิ่งใดเป็นคุณและเป็นโทษ ย่อมนำไปสู่การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมที่ดีในอนาคตได้ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เขาเหล่านั้นได้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ดี มีคุณภาพจิตที่งดงาม โดยใช้หลักคุณธรรมและจริยธรรมเป็นหลักในการตกแต่งและพัฒนานั่นเองฯ

หลวงปู-01.png

พระพรหมมงคล วิ.

นับว่าเราทั้งหลายได้สนองพระราชดำริของพระเจ้ายอดเชียงราย พระองค์ทรงพระชนม์อยู่ พระนางอะตะปาเทวีคงจะโสมนัสยิ่งนัก  มีพระราชศรัทธาโสมนัสต่อพวกเราที่สนองงานวัดที่พระองค์ได้ทรงสร้างวัดขึ้นมา

รูปอาจารย์-01.png

พระภาวนาธรรมาภิรัช วิ.
(สุพันธ์ อาจิณฺณสีโล)

แรงบันดาลใจที่สร้างสรรค์งานวิจิตรศิลป์ โดยการใช้ไม้นั้น ในทัศนะข้าพเจ้า งานไม้ยิ่งเก่ายิ่งเพิ่มมูลค่าทั้งทางงานศิลปกรรมและมูลค่าในตัวมันเอง รวมถึงเป็นการส่งเสริมอนุรักษ์งานช่างศิลป์สู่ยุคใหม่และสิ่งนี้ก็จะเป็นมรดกทางวัฒนธรรมแก่ชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู่ต่อไปในอนาคต 

DSC_3164.png

พระปลัดพิเชษฐ์ ญาณวโร

รู้สึกภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้ทำงานรับใช้พระศาสนาวัดวาอารามอันเป็นที่เกิดและครูบาอาจารย์ที่เคารพยิ่ง อีกประการหนึ่งอาจจะด้วยความผูกพันและสำนึกในคุณของวิหารหลังนี้ ตามคำสอนของพระเดชพระคุณหลวงปู่พระพรหมมงคล วิ.องค์อุปัชฌาย์ ที่ว่า “รู้คุณของสิ่งมีคุณ”

วิหารหลังเดิม

วิหารหลังเดิมกว้าง 7.5 เมตร ยาว 21 เมตร  เป็นวิหารปิด ทรงล้านนาแบบโบราณ ที่สร้างโดยฝีมือชาวบ้านคนท้องถิ่น และพระที่มีฝีมือเป็นสล่าใหญ่ (ช่างใหญ่) โดยการสร้างแบบเรียบ  ไม่มีลวดลายรดน้ำ ประดิษฐานด้านหน้าพระธาตุเจดีย์ ภายในมีพระประธานพระพุทธอะตะปา มหามุนีปฏิมากร หรือหลวงพ่อตะโปประดิษฐานอยู่    

134076051_838045333696156_7952256424127619501_n.jpg

วิหารหลังปัจจุบัน

“วิหารลายคำพระพุทธอะตะปามหามุนีปฏิมากร” วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม)

บูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ พ.ศ. 2558 โดยปรารภถึงวัดที่ได้เสนอ ยกจากวัดราษฎร์ขึ้นเป็น พระอารามหลวง เพื่อเฉลิมพระเกียรติ 84 ปี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องจากวิหารหลังเดิมคับแคบไม่เพียงพอต่อการใช้ทำกิจกรรมวันพระและกิจกรรมอื่น ๆ จึงขยายพื้นที่จากเดิมกว้าง 7.5 เมตร ออกข้างละ ๑.๓๙ เมตร เป็นพื้นที่ขนาด กว้าง ๑๒.๖๗ เมตร ยาว 21 เมตร  ปรับปรุงเป็นอาคารสร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลัง โดยปรับเปลี่ยนโครงสร้างวัสดุหลังคา ช่อฟ้า ใบระกา พื้นช่องประตูหน้าต่าง และยกฐานพระประธาน ด้านข้างวิหารสร้างศาลาบาตร ทั้ง 2 ข้าง เพื่อมีพื้นที่ใช้สอยให้มากขึ้น โดยสร้างด้วยไม้สักทอง และพร้อมกันนี้ได้สร้างศาลาบาตรล้อมรอบพระธาตุเจดีย์เพื่อใช้เป็นพื้นที่เดินจงกรม บำเพ็ญสมาธิภาวนา วิปัสสนาภาวนา และกิจกรรมอื่น ๆ

IMGz-Tem-R-(30).png
  • บูรณะปฏิสังขรณ์     

พ.ศ. 2558 เริ่มดำเนินงานรื้อถอนโครงสร้างวิหารหลังเก่า บูรณปฏิสังขรณ์วิหารโดยรักษาโครงสร้างเดิมไว้ส่วนหนึ่ง และขยายพื้นที่ของพระวิหารออกด้านข้าง ด้านละ 1.39 เมตร และความยาวเท่าเดิม รวมเป็นขนาด กว้าง 12.67 เมตร ยาว 21 เมตร  
โดยลดหลังคามาอีก 1 ระดับ   
   

DSC_7624.JPG
  • ขนาดของวิหารเดิม  

ขนาดเดิมกว้าง  8.5 เมตร ยาว 21 เมตร ประดิษฐานอยู่ด้านหน้าพระธาตุเจดีย์ วิหาร เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  ไม้ย่อมุม  มีการยกเก็จของผนัง ส่วนซ้อนชั้นของหลังคามีความเรียบง่าย องค์ประกอบปรับตกแต่งที่สำคัญประกอบด้วย ช่อฟ้า (หรือสัตบริภัณฑ์  หรือปราสาท)   แขนนาง  รังผึ้ง  และเอวขันธ์   มีทางเข้าออก 3 ทาง  ด้านหน้า 1 ทาง และด้านหลัง 2 ทาง ภายในวิหารแบ่งพื้นที่ใช้สอยออกเป็น ๓ ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ พื้นที่ของพระสงฆ์  ได้แก่ อาสน์สงฆ์  (ที่นั่งพระภิกษุสามเณร) ทำเป็นแท่นยกพื้นอยู่ทางด้านขวามือของพระประธาน และพื้นตรงกลางที่สำหรับคฤหัสถ์ทำกิจทางศาสนา  
   

  • โครงสร้างวิหาร

เป็นโครงสร้างไม้ ระบบเสาและคาน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของวิหารล้านนา  ที่เรียกว่า “โครงสร้างแบบม้าต่างไหม”  หลังคาเป็นจั่วมีซ้อนชั้นของหลังคาด้านหน้าสามชั้น ด้านหลังสองขั้น สัมพันธ์กับการยกเก็จของผนัง  หลังคามุงด้วยกระเบื้องแป้นเกล็ด
   

DSC_3770.jpg
DSC_3766.jpg
12419274_997694070321648_2080471692897045759_o.jpg
12890959_997694096988312_1478342064816298378_o.jpg
  • พิธียกปราสาทเฟื้องฐานฉัตรขึ้นประดิษฐานบนหลังคาวิหาร

  • วันที่ 30 มีนาคม 2559

  • ย้ายศิลาจารึก ที่จารึกอักษรฝักขามไว้ ไปประดิษฐานที่หลัวิหาร วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) 12 กุมภาพันธ์ 2559

  • พิธียกยอดยกฉัตรทองขึ้นยอดปราสาทเฟื้อง พระพรหมมงคล วิ. ประธานในพิธี 23 มกราคม 2562

12819384_981120941978961_7846890878209407510_o.jpg

พระพรหมมงคล วิ. (หลวงปู่ทอง สิริมงฺคโล)
ประธานยกฉัตรปราสาทเฟื้องขึ้น
ประดิษฐานบนหลังคาวิหาร ในวิหารวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) 
วันครบรอบวัด 527 ปี วันที่ 23 มกราคม 2562

DSC_7135.jpg

พิธียกยอดยกฉัตรทองขึ้นยอดปราสาทเฟื้อง

ย่างก้าวเข้าสู่วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม)

วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) ด้านซ้ายมือจะมองเห็นพระวิหาร เด่นสง่างามตั้งยกระดับสูงขึ้นจากพื้น โดยมีการสร้างศาลารายทั้งด้านซ้ายและขวาของพระวิหาร
ทอดยาวล้อมรอบองค์เจดีย์เอาไว้

มุมกว้าง.jpg

หน้าบันพระวิหาร

เป็นแผ่นไม้ลูกฟักที่สร้างเพื่อปิดช่องว่างที่เกิดจากโครงสร้างหลังคาด้านสกัด  สร้างเพื่อเน้นมุมมองไปสู่องค์พระประธานที่อยู่ภายในพระวิหาร  หรืออุปมาถึงเรื่องกิเลส ตัณหาอันเปรียบเสมือนการเตรียมพร้อมให้กับบุคคลที่เข้าไปในพระวิหาร ได้ตระหนักและเตรียมตัวเข้าสู่พื้นที่ที่บริสุทธิ์ภายใน โดยแทนลวดลายที่อยู่บนหน้าบันนั้นเป็นเสมือนกิเลสตัณหาของมนุษย์ที่ยังไม่ได้รับการขัดเกลานั่นเอง  แนวคิดดังกล่าวมักถูกย้ำด้วยการสร้างเสาคู่หน้าสุด จะเป็นเหลี่ยมเปรียบเสมือนจิตใจของผู้คนที่หยาบกระด้างดั่งกิเลสตัณหาของมนุษย์ที่ยังไม่ได้ขัดเกลา และเมื่อเข้าไป สู่ภายในวิหาร เสาคู่ต่างๆ ภายในจะกลายเป็นรูปทรงกลม อันเปรียบเสมือนจิตใจที่บริสุทธิ์ของผู้ที่เข้าสู่ภายในวิหารซึ่งเป็นแดนพุทธภูมิหรือ สถานที่ของพระพุทธเจ้าผู้ซึ่งบรรลุนิพพาน ตัดแล้วซึ่งกิเลสตัณหานั่นเอง  โก่งคิ้วหน้าบันพระวิหารจะตกแต่งด้วยลายรดน้ำ ลายกงจักร  และดอกพันธ์ุพฤกษา

โกงคิ้วหน้าทางเข้า.jpg

โก่งคิ้ว หน้าบันทางเข้าวิหาร

พระประธานในวิหาร.jpg

พระประธานในวิหาร เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ฝีมือช่างล้านนาและสุโขทัย ปางพิชิตมาร หน้าตักกว้าง 59 นิ้ว สูง 82 นิ้ว ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2

พระวิหารเดิมเกิดชำรุดทรุดโทรมจนใช้การไม่ได้ คณะสงฆ์จังหวัดได้ประชุมตกลงกันให้อันเชิญพระธานไปประดิษฐานไว้ ณ ด้านหลังพระวิหารวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร และทำการก่อสร้างพระวิหารขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ. 2515
พระครูพิพัฒน์คณาภิบาล (ทอง สิริมงฺคโล)

รักษาการเจ้าอาวาสขณะนั้นได้

อาราธนาหลวงพ่อตโปจากวัดพระสิงห์ ฯ กลับสู่พระวิหารวัดร่ำเปิง 
เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2518

bottom of page