top of page
PP- 27.jpg

วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม)

วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม)

เป็นวัดเก่าแก่ สร้างในสมัยพระเจ้ายอดเชียงราย

 

โดยมี พระนางอะตะปาเทวีพระมเหสีรับบัญชาเป็นผู้ดำเนินการสร้าง

 

ต่อมาหลวงปู่ทอง สิริมงฺคโล อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระออกธุดงควัตรมาพบ

วัดร่ำเปิง ซึ่งในเวลานั้นเป็นวัดร้าง จึงดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์และจัดการอบรมวิปัสสนากรรมฐาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 เป็นต้นมา

พระเจ้ายอดเชียงราย.jpg

พระเจ้ายอดเชียงราย

ศิลาฝักขาม-Re.jpg

Then in year 1991 the Buddhist Supreme patriarch asked Ajarn Tong  to take the position of Abbot of Wat Phra Tat Srichomthong. 
Phra Suphan Ajinnasilo was bestowed the position of Phra Kru Sanyabat (priest’s rank) becoming the  abbot of Ram Poeng temple.

The present Abbot still carries on the inherited Vipassana insight meditation and by developing the Temple. This meditation centre is one of the most famous in Northern Thailand and has become popular among Thai and foreigners alike.

In addition to Vipassana meditation. The Wat Ram Poeng Temple is also Pra Abhidhamma’s office and is one of the branches of Abhidhamma Chotika college Mahachulalongkornrajavidyala University Abhidhamma University of Thailand Wat Rakang Kositaram. 
Wat Ram Poeng Temple also keeps and prints Northern Tripitaka (Lanna) scriptures.

17622562_1382211745198594_481456243_o_edited.jpg

วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม)

531 ปี

30 มีนาคม 2566

วัดร่ำเปิงในปัจจุบัน

ทางเข้า4.jpg

สอนวิปัสสนากรรมฐานทางภาคเหนือ อบรมพระกรรมฐานในแนวสติปัฎฐาน ๔ ปัจจุบันมีชาวไทยและชาวต่างประเทศ เข้ารับการอบรมปฏิบัติต่อเนื่องกันตลอดปีไม่ขาดสายเป็นวัดแห่งแรกที่มีพระไตรปิฏกฉบับล้านนา และได้ชื่อว่าเป็นวัดที่มีพระไตรปิฏกฉบับภาษาต่าง ๆ มากที่สุดในโลก  ถึง 19 ภาษา และในปัจจุบันได้รับคัดเลือกให้เป็น

  •  ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติฯ ประจำจังหวัดเชียงใหม่ ปี  พ.ศ. 2542

  •  อุทยานการศึกษาในวัด  พ.ศ. 2544

  •  สำนักปฏิบัติธรรม ประจำจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 2 ปี พ.ศ. 2547

  •  สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดดีเด่นเฉลิมพระเกียรติ 83 พรรษา ปี พ.ศ.2553

  •  วัดพัฒนาตัวอย่าง พ.ศ. 2553

นอกจากงานวิปัสสนากรรมฐานแล้ว วัดร่ำเปิง(ตโปทาราม) ยังเป็นสำนักพระอภิธรรมสาขาของอภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย อภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตาราม และยังเป็นวัดที่รวบรวมและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาล้านนา

p002.jpg

ดูประวัติวัดร่ำเปิงเพิ่มเติม

ศาสนวัตถุสำคัญ

ปูชนียวัตถุ

1. พระบรมธาตุเจดีย์   2. พระพุทธอะตะปะมหามุนีปฏิมากร  3. พระพุทธรูปหลวงพ่อศรีอโยธยา 4. พระประธานหล่อด้วยสัมฤทธิ์ ปางปฐมเทศนา 5. พระพุทธรูปหินทรายปางปฐมเทศนา 6. พระพุทธรูปหินทรายเขียวปางนาคปรก 7. พระพุทธชินราชจำลอง ประดิษฐาน 8.พระพุทธรูปพระประธานในอาคาร ๘๐ ปี พระราชพรหมาจารย์ 9. พระพุทธรูปหินหยกเขียวทรงเครื่อง 10. รูปเหมือนพระสิวลี 11.รูปเหมือนพระครูบาศรีวิชัย 12.รูปเหมือนพระเจ้ายอดเชียงราย และพระนางอะตะปาเทวี

พระธาตุเจดีย์.jpg
รูปเหมือนพระสิวลี 1.jpg
พระพุทธรูปหินทรายปางปฐมเทศนา 2.jpg
พระพุทธอะตะปะมหามุนีปฏิมากร-Re.jpg

พระบรมธาตุเจดีย์

รูปเหมือนพระสิวลี

พระพุทธรูปหินทรายปางปฐมเทศนา

พระพุทธอะตะปะมหามุนีปฏิมากร

พระพุทธรูปหินหยกเขียวทรงเครื่อง-Re.jpg
รูปเหมือนพระครูบาศรีวิชัย.jpg

ศิลาฝักขาม

รูปหล่อเหมือหลวงปู่ทอง

ศิลาฝักขาม-Re.jpg
รูปหล่อเหมือหลวงปู่ทอง-Re.jpg

พระพุทธรูปหินหยกเขียวทรงเครื่อง

รูปเหมือนพระครูบาศรีวิชัย

พระสิงห์ 1.jpg
พระเจ้ายอดเชียงราย.jpg
พระพุทธรูปหินทรายปางปฐมเทศนา.jpg
พระนางอะตะปาเทวี.jpg

พระสิงห์

พระเจ้ายอดเชียงราย

พระพุทธรูปหินทรายปางปฐมเทศนา

พระนางอะตะปาเทวี

สำนักงานติดต่อปฏิบัติธรรม

พระราชกรณียะกิจพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
ในการเสด็จพระราชดำเนินมายังวัดร่ำเปิง ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี พระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี มายังวัดร่ำเปิง ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เพื่อทอดพระเนตรต้นฉบับพระไตรปิฏกภาษาล้านนา และประกอบพิธียกฉัตรประดิษฐานยอดเจดีย์วัดร่ำเปิง

 

โดยมี พระครูพิพัฒน์คณาภิบาล(ทอง   สิริมงฺคโล) ปัจจุบันได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ราชทินนามพระธรรมมังคลาจารย์ วิ. เจ้าอาวาสวัดร่ำเปิงในขณะนั้น พร้อมด้วยผู้ว่าราชการจังหวัด ข้าราชการ พ่อค้าประชาชนชาวเชียงใหม่เฝ้ารับเสด็จ

สำนักปฏิบัติธรรมต้นแบบ

bottom of page